โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

ในแต่ละวันทุกคนล้วนเรอออกมาประมาณ 14-23 ครั้งเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าหากเพื่อน ๆ พบว่าตัวเองเรอบ่อยมากจนเกินพอดี นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบางอย่างที่ร่างกายกำลังจะบอกเราก็ได้ ลองตามไปทำความเข้าใจกับอาการเรอในบทความนี้ เพื่อหาคำตอบสาเหตุที่ทำให้เรอบ่อยมากเกินไป

อาการเรอ เกิดจากอะไร

อาการ “เรอ” เป็นปฏิกิริยาของร่างกายในการขับลมออกจากกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารออกทางปาก อาจจะมีแค่เสียง หรือบางครั้งหากอาหารยังคงอยู่ในกระเพาะ ก็จะมีกลิ่นอาหารออกมาด้วย ส่วนใหญการเรอมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไปและทำให้กระเพาะอาหารพองตัว ทำให้เรอออกมาเพื่อขับลมออก ลดการพองตัวของกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเรอบ่อย

การกลืนลม (Aerophagia)

อาการเรอบ่อยเกิดจากการกลืนอากาศเข้าไปทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ อย่างเช่น เมื่อรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มเร็วเกินไป กินอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย ตอนเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือดื่มน้ำจากหลอดดูด หายใจลึก ยาว หรือเร็วกว่าปกติ เกิดความวิตกกังวล ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เรากลืนลมเข้าไปเป็นจำนวนมาก และทำให้เรอออกมาได้

การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิดทำให้เรอบ่อยขึ้น

โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดสูง ทำให้เกิดกรดและแก๊สในกระเพาะมากเกินไป อย่างเช่น น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือไฟเบอร์สูง อาหารที่ทำมาจากโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว ลูกเกด บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หัวหอม กล้วย ฯลฯ

การมีกรดในกระเพาะอาหารมาก

อาการเรอบ่อยเมื่อกินอาหารเร็วและมากเกินไป ทำให้อาหารตกค้างในกระเพาะมาก หรือเมื่อปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ และความเครียด ตอนดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน  จะทำให้กระเพาะอาหารพองตัว และทำให้เรอเพื่อขับลมออกมา

การใช้ยาบางชนิด

เช่น ยาอะคาร์โบส (Acarbose) เป็นยารักษาเบาหวาน ชนิดที่ 2 ยาระบาย อย่างยาแลคตูโลส (Lactulose) และยาซอร์บิทอล (Sorbitol) ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยานาพรอกเซน ยาไอบูโพรเฟน และยาแอสไพริน การใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เรอบ่อย

โรคประจำตัว ที่อาจทำให้มีอาการเรอบ่อย

เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกระเพาะอาหารหรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะแพ้น้ำตาลแล็กโทสซึ่งอยู่ในอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ ภาวะการดูดซึมฟรุกโตสหรือซอร์บิทอล (Sorbitol) ที่ผิดปกติ โรคติดเชื้อเอชไพโลไร (H.pylori) เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

สาเหตุอื่น ๆ

ที่อาจจะทำให้เรอบ่อย แต่ยังพบได้น้อยเช่น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรืออาการแพ้กลูเตนในอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง โรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง ทำให้ขาดน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยอาหาร และ Dumping Syndrome เป็นภาวะที่กระเพาะอาหารย่อยอาหารและส่งไปยังลำไส้เร็วเกินไปก่อนที่อาหารจะถูกย่อย

อาการเรอบ่อยเป็นการส่งสัญญาณจากร่างกายผ่านการเรอ

ร่างกายกำลังส่งสัญญาณอะไรบางอย่างผ่านการเรอมากเกินไป

ลักษณะการเรอ

เรอตลอดเวลา

หนึ่งในกลุ่มอาการเรอที่บ่งบอกว่าร่างกายไม่เพียงแต่มีความผิดปกติในส่วนของระบบทางเดินอาหารเท่านั้น แต่ยังมีความผิดปกติของระบบอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเอชไพโลไรที่เป็นเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถสร้างแก๊สขึ้นในร่างกายได้

เรอแล้วมีกลิ่นเหม็นตามมาด้วย

ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มาจากสองสาเหตุหลัก ๆ คือ กรดไหลย้อน หรือการที่น้ำดีที่ถูกสร้างโดยตับอ่อนไม่สามารถสร้างได้ตามปกติ

เรอแบบไหนไม่ปกติ

เรอบ่อย เรอเปรี้ยว

อาการเรอเปรี้ยวมักจะมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ถ้าเกิดมีอาการท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคกรดไหลย้อนได้

เรอบ่อย ปวดท้องเกร็ง

อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกของอาการท้องอืด อาการที่พบได้บ่อย อาจทำให้รู้สึกแน่น จุกเสียด ปวดท้อง อิ่มเร็ว ท้องแข็ง รวมถึงมีอาการเรอ ผายลม และท้องร้องโครกครากหลังรับประทานอาหาร

เรอบ่อย แสบท้อง จุกเสียด

อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคทางลำไส้และกระเพาะ อย่างเช่น โรคกระเพาะ หรือโรคกรดไหลย้อน

เรอบ่อย ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักตัวลด

หากมีอาการอาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีก้อนในท้อง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

เรอบ่อยผิดปกติาอาจเสี่ยงเป็นโรคต่างๆได้

การเรอเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการช่วยให้เรารอดจากอาการท้องอืดและบรรเทาอาการปวดท้อง การเรอหลังอาหารเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังส่งเสียงบอกคุณว่าอาจมีโรคอะไรบางอย่างที่ทำให้เรอมากกว่าปกติ

โรคทางเดินอาหาร

เกิดจากการติดเชื้อ โดยอาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาจจะมาจากอาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ไสติ่งอักเสบ เป็นต้น

กรดไหลย้อน

โรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร คนที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อย

โรคกระเพาะ

เป็นแผลที่เกิดในเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารมาก ทำให้ระคายเคืองจนส่งผลเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

อาการลำไส้แปรปรวน (IBS)

อาการปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ นานเกิน 6 เดือนขึ้นไป ร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ มีอาการได้ทั้งกลุ่มอาการท้องเสีย กลุ่มอาการท้องผูก กลุ่มอาการท้องเสียสลับท้องผูก

ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ

ภาวะที่มีปริมาณของแบคทีเรียในลำไส้ (colonization) เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ย่อยสารอาหารคาร์โบไฮเดรตบางชนิดไม่ได้

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด

ท้องผูกเรื้อรัง

เกิดอุจจาระแข็ง มีความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ หรือน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย

ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร

เชื้อแบคทีเรียที่สามารถพบการปนเปื้อนทั่วไปได้จากการสัมผัสอุจจาระ น้ำลาย การกินอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้อ เป็นสาเหตุสำคัญของแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร

นิ่วในถุงน้ำดี

เป็นชิ้นส่วนแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี ชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อนคล้ายกับน้ำตาล

โรคอื่นๆจากการเรอบ่อย เช่น ลำไส้อุดตันเทียม

เป็นภาวะที่มีสิ่งอุดตันหรือมีการรบกวนการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาหารหรือของเหลวต่าง ๆ ไม่สามารถเคลื่อนผ่านได้ปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง

อาการเรอบ่อยเกิดจากการทานอาหารที่มีแก๊สเยอะ

อาหารที่เป็นต้นเหตุทำให้คุณเรอ

หากคุณรู้สึกอึดอัดเนื่องจากมีแก๊สเกินในกระเพาะอาหาร เราขอแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่คุณเลือกนำเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่อาหารที่มีส่วนประกอบของแก๊ส รายการดังต่อไปนี้คืออาหารที่มีแก๊สเป็นส่วนประกอบ

  • ถั่วชนิดต่าง ๆ
  • ผักตระกูลกะหล่ำ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนม
  • น้ำอัดลม
  • หมากฝรั่ง
  • อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น มะเขือเทศ และผลไม้รสเปรี้ยว
อาการเรอบ่อยสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง

วิธีบรรเทาอาการเรอบ่อยให้ลดน้อยลง

หากไปพบแพทย์แล้วไม่พบปัญหา คุณอาจลองทำตามข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการเรอบ่อยให้ลดน้อยลง

  • ดื่มและเคี้ยวอาหารช้า ๆ เพื่อลดโอกาสในการกลืนอากาศเข้าไปโดยไม่รู้ตัว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย 
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น บอกลาอาหารที่มีก๊าซเป็นส่วนประกอบ
  • หลีกเลี่ยงผักหรือผลไม้บางชนิด
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • อาจรับประทานโยเกิร์ตแทนดื่มนม
  • ออกกำลังกายเบา ๆ หลังทานอาหาร เช่น เดินเล่น หรือ ปั่นจักรยาน
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล

หากใครที่มีอาการเรอบ่อยๆ ลองเช็กอาการเบื้องต้นจากด้านบน และวิธีแก้ไขอาการดูค่ะ แต่ถ้าอาการเรอบ่อยยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง
อาการเรอบ่อย ไม่ใช่เรื่องปกติ! แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย
https://allwellhealthcare.com/frequent-burp/
เรอบ่อย สัญญาณของโรคร้าย ? https://www.pobpad.com/เรอบ่อย-สัญญาณของโรคร้า

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

วิธีลดรอยแผลเป็นบนใบหน้า

Next

10 คุณประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

Related Topics
Share