Get the App
DOWNLOAD NOW
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
Find a Store Blog
Watsons Services
0
MY BAG
Share

เชื้อราในช่องคลอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสตรีทั่วไป ซึ่งมักพบว่าเป็นเชื้อราตรงจุดซ่อนเร้นร้อยละ 40  โดยการแสดงอาการติดเชื้อราพบมากเป็นอันดับต้น ๆ แต่จะไม่เกิดปัญหาถ้าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และเพื่อน ๆ ทราบกันมั้ยว่าเชื้อราในช่องคลอดมีวิธีรักษาอย่างไร ซึ่งเราสามารถบรรเทาโรคเชื้อราในช่องคลอดด้วยตัวเองที่บ้านได้ด้วย วัตสันเลยอยากชวนเพื่อน ๆ มาดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อราในช่องคลอด ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง ลองตามไปดูกันต่อเลย 

เชื้อราในช่องคลอด คือ?

เชื้อราในช่องคลอด เป็นภาวะช่องคลอดอักเสบชนิดหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อราประเภทหนึ่ง นั่นก็คือ “ ยีสต์ Candida” ซึ่งปกติยีสต์ตัวนี้จะอาศัยอยู่ในร่างกายของเราอยู่แล้ว ในบริเวณปาก ทางเดินอาหาร รวมถึงช่องคลอด แต่อยู่ในปริมาณไม่มากจึงไม่ได้ส่งผลอะไรต่อร่างกาย แต่ถ้ายีสต์ Candida เพิ่มจำนวนมากจนควบคุมไม่ได้ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดขึ้นได้ 

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอด

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอด

1. ภาวะตั้งครรภ์

ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทำให้ปริมาณสารไกลโคเจน ที่ถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดสูงขึ้นตามไปด้วย และสารตัวนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ปริมาณฮอร์โมนที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เชื้อรามีปริมาณมากขึ้นด้วยเหมือนกัน

2. โรคเบาหวาน

โดยเฉพาะคนที่ควบคุมโรคไม่ดีเท่าที่ควร อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น และกระตุ้นการผลิตตกขาวในเยื่อบุของช่องคลอด ก่อให้เกิดความชื้นที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตดีขึ้น

3. การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเกินไป

ยาปฏิชีวนะจะไปทำลายเชื้อต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้น

4. การรับประทานยาเสตียรอยด์

จะลดภูมิคุ้มกันในการต้านทานโรค อาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

5. ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์

ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันในการต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มขึ้นได้ง่าย

6. การใส่กางเกงที่คับมาก และอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น

ส่งผลให้ช่องคลอดมีความอับชื้น และทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้นได้ง่าย

7. ภาวะที่คู่นอนมีการติดเชื้อรา

ถึงแม้การติดเชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่คู่นอนอาจติดเชื้อราได้ เพียงแต่โอกาสที่จะติดเชื้ออาจจะต่ำหากคู่นอนมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายหรือไม่มีช่องคลอด

อาการของโรคเชื้อราในช่องคลอด

1. อาการเริ่มแรก

ตกขาวจะมีสีขาวหรือเหลืองเป็นก้อนคล้ายนมบูด มีกลิ่นผิดปกติ โดยช่องคลอด จะเกิดการระคายเคือง จนทำให้คันมากจนแทบทนไม่ได้

2. อาการรุนแรงมาก

จะมีอาการคันมาถึงบริเวณขาหนีบ พร้อมกับมีอาการแสบ แดง และระคายเคืองอย่างรุนแรง บางคนอาจจะรู้สึก แสบในช่องคลอดเวลาถ่ายปัสสาวะด้วย

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด

10 วิธีบรรเทาโรคเชื้อราในช่องคลอดด้วยตัวเองที่บ้าน

1. กินกรีกโยเกิร์ต

การทานโยเกิร์ตจะช่วยลดเชื้อราในร่างกายได้ เนื่องจากอาหารประเภทโยเกิร์ตมีส่วนผสมของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส อาจมีส่วนช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด ลดอาการคันในช่องคลอด และลดโอกาสเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ นอกจากนั้นโยเกิร์ตยังมีจุลลินทรีย์ที่ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของน้องสาวที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่าง ๆ ได้อีกด้วย

2. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล

การอาบแช่น้ำอุ่นที่ผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลจำนวนครึ่งถ้วยเป็นเวลา 15 นาทีอาจช่วยฆ่าเชื้อราในช่องคลอดได้ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลเป็นสารต้านเชื้อราและช่วยคืนความสมดุลให้กับค่า pH ในช่องคลอดได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ช่วยให้สุขภาพดีในการยับยั้งการผลิตของเชื้อรา จริง ๆ แล้ว การทานน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลในขณะท้องว่าง โดยผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลหนึ่งช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งแก้วก็สามารถช่วยได้มากเช่นกัน

3. น้ำมันมะพร้าว

การทาน้ำมันมะพร้าวโดยตรงกับบริเวณที่ติดเชื้อรา เป็นวิธีการรักษาเองที่บ้านที่นิยมมากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติต้านเชื้อราในการต่อสู้กับเชื้อราที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนั้นน้ำมันมะพร้าวยังมีกรดลอริก (lauric acid) เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ตัวหนึ่ง ชื่อโมโนลอริน มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีรายงานหนึ่งพบว่าน้ำมันมะพร้าว สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราในช่องคลอด ยีสต์ โปรโตซัว ฯลฯ

4. วิตามินซี

ลองเพิ่มการทานวิตามินซีในอาหารเพื่อให้ร่างกายสร้างโอกาสที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด เพิ่มผลไม้ที่อุดมด้วยสารอาหารและผักที่มีวิตามินซีสูงในอาหารของสาวๆ เช่น ผลเบอร์รี่ต่าง ๆ ผลไม้ตระกูลส้ม หรือเลือกทานอาหารเสริมวิตามินซีแบบดีที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของสาวๆ อ้อ อย่าลืมดื่มน้ำมาก ๆ ด้วยนะคะ เพราะน้ำจะทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ

5. กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ

เมื่อระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น จะเป็นการกระตุ้นการผลิตตกขาวในเยื่อบุของช่องคลอดเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้เกิดความชื้นที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตดีขึ้น จึงควรเลือกทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ หรือเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย ลดอาการติดเชื้อในช่องคลอดลงไปได้ด้วย

6. หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้

ถึงแม้ว่าการแพ้อาหารจะไม่ใช่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด แต่ภาวะแพ้อาหารจะทำให้อาการของโรคแย่ลง นอกจากเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลแล้ว จึงควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้แพ้ไปด้วย เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ ลดอาการติดเชื้อในช่องคลอดไปด้ด้วย

7. ผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล อาจส่งผลให้น้องสาวระคายเคืองง่าย ผนังช่องคลอดแห้งมากกว่าปกติได้ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้การติดเชื้อในช่องคลอดกำเริบขึ้นได้ด้วย ลองหากิจกรรมผ่อนคลายทำ หรือออกกำลังกาย เพิ่มฮอร์โมนความสุข นอกจากช่วยลดความเครียด ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี ลดโอกาสการเกิดเชื้อราในช่องคลอดไปได้ด้วย

8. หลีกเลี่ยงกางเกงชั้นในที่รัดแน่น

การใส่กางเกงชั้นใน หรือชุดที่รัดแน่นมากเกินไป อาจจะทำให้น้องสาวไม่สบายตัว และเกิดความอับชื้น ทำให้เชื้อราในช่องคลอดสามารถเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น จึงควรสวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ ให้น้องสาวได้หายใจ ไม่รัดแน่นจนเกินไป และควรตากกางเกงชั้นใน ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และต้องให้โดนแสงแดดด้วย เพื่อฆ่าเชื้อราพวกนี้ให้ตายด้วยความร้อน

9. ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาใด ๆ ล้างช่องคลอด

การใช้สบู่หรือน้ำยาใด ๆ ล้างช่องคลอด เป็นการทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ไม่ควรทำอย่างแรง เพราะทั้งสบู่และน้ำยาต่าง ๆ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง ทำให้แบคทีเรียที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราตายไปด้วย ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และไม่ควรล้างภายในช่องคลอด เพราะช่องคลอดจะมีขบวนการในการทำความสะอาดตัวเองอยู่แล้ว

10. ก่อนและหลังร่วมเพศให้ปัสสาวะออกให้หมดกระเพาะปัสสาวะ

การค้างของน้ำปัสสาวะที่มีเชื้อโรคอาจทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย และเกิดการอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นการปัสสาวะทิ้งจะช่วยป้องกันการเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย ป้องกันการอักเสบติดเชื้อได้ จึงควรปัสสาวะทิ้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด และยังป้องกันการเกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย

คันช่องคลอดหายเองได้ไหม

โรคเชื้อราในช่องคลอด อาการคันช่องคลอดหายเองได้ไหม?

สำหรับการติดเชื้อราในช่องคลอดที่ไม่รุนแรงอาจหายเองได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ยาก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา โดยส่วนใหญ่จะหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์หลังได้รับการรักษา และถ้าหากเกิดการติดเชื้อราชนิดรุนแรง อาจมีอาการและใช้เวลารักษานานนั้น และรักษาโดยการให้รับประทานยาจนหมดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

ยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดหรือเปล่า?

จากงานวิจัยหนึ่งพบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อราในช่องคลอดของผู้หญิง แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาว่าความเสี่ยงจะลดลงหรือไม่เมื่อหยุดใช้ยา เลยไม่แนะนำให้หยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ถ้าเกิดมีอาการติดเชื้อราในช่องคลอดซ้ำ ๆ อาจจะเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นในการคุมกำเนิดอื่น ๆ แทน

ถ้าติดเชื้อราในช่องคลอดแล้ว คู่นอนควรตรวจและรักษาด้วยหรือไม่?

ถึงแม้ว่าการติดเชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่คู่นอนสามารถติดเชื้อราได้ด้วยเหมือนกัน เพียงแต่โอกาสที่จะติดเชื้ออาจจะต่ำ ถ้าหากคู่นอนมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายหรือไม่มีช่องคลอด หากพบว่าคู่นอนมีการติดเชื้อราในช่องคลอด แนะนำให้ทั้งคู่ตรวจและรักษา เพื่อความสบายใจและปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของทั้งสองฝ่าย

ปัญหาเชื้อราในช่องคลอดถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ค่อยรุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ยังน่าเป็นกังวลและยังส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ด้วย และเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อราในช่องคลอด เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน พร้อมกับดูแลสุขภาพร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อในช่องคลอด

ข้อมูลอ้างอิง
เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Yeast Infection) https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/vaginal-yeast-infection
เชื้อราในช่องคลอด https://www.mccormickhospital.com/web/articles/blogs/เชื้อราในช่องคลอด#:~:text=สภาวะติดเชื้อราในช่อง,เชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

ความแตกต่างของรังแคกับหนังศีรษะแห้งลอก

Next

กู้หน้าพัง ให้กลับมาปัง Review Cerave Moisturizing Cream

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 10 โฟมล้างหน้าลดสิวเสี้ยน หน้าเนียนใส ห่างไกลสิว
  7. ส่อง! 20 ประโยชน์ของ NAC (N-Acetylcysteine)
  8. วิธีล้างแปรงแต่งหน้า พัฟแต่งหน้า ด้วยคลีนเซอร์ง่าย ๆ
  9. รีวิวแป้งฝุ่นศรีจันทร์ Gen 1 ปะทะ Gen 2 ต่างกันยังไง? ใช้ตัวไหนดีนะ?
  10. รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร
  11. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลม ปรับลุคใหม่หน้าเรียวเล็ก น่ารัก ไม่ต้องง้อหัตการ