Get the App
DOWNLOAD NOW
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
Find a Store Blog
Watsons Services
0
MY BAG
Share

ผิวหนัง เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกายมนุษย์ จึงควรดูแลผิวหนังให้ดีอยู่เสมอ บทความนี้วัตสันเลยอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับ “โรคเซ็บเดิร์ม” โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และผิวหนังที่มีความมัน เป็นอีกหนึ่งอาการทางผิวหนังที่ควรระวังเอาไว้เลย ซึ่งวัตสันได้นำสาเหตุ อาการ และวิธีดูแลรักษาโรคเซ็บเดิร์มที่หน้ามาแบ่งปันเพื่อน ๆ กันแล้ว ตามไปดูได้ในบทความนี้กันต่อได้เลย

โรคเซ็บเดิร์ม คืออะไร

โรคเซ็บเดิร์ม หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (seborrheic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย มักจะเกิดขึ้นบนหนังศีรษะและผิวหนังบริเวณที่มีความมัน เช่น ใบหน้า หลัง หน้าอก และบริเวณลำตัว ได้แก่ ข้อพับแขน ขา และขาหนีบ เป็นต้น ลักษณะอาการของโรคนี้ส่วนมากจะมีผื่นแดง มีสะเก็ดสีขาวหรือสีเหลืองบริเวณผิวหนัง และมักมีอาการคันบริเวณผื่นหรือสะเก็ดเกิดขึ้นได้ด้วย

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

 อาการของโรคเซ็บเดิร์ม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลานส่วนของร่างกาย และมักจะพบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ และบริเวณผิวหนังที่มีความมัน อาจจะสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ผิวหนังตกสะเก็ด เป็นรังแคบนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีเส้นผม คิ้ว หรือ หนวดเครา
  • ผิวมันเป็นแผ่น เช่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง หรือมีสะเก็ดแข็งบนหนังศีรษะ ใบหู ใบหน้า หน้าอก หรือตามส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
  • ผิวหนังลอกเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลือง และผิวดูมัน มีอาการคัน แดง
  • มีอาการเปลือกตาอักเสบ แดง หรือมีสะเก็ดแข็งติดอยู่
  • ในบางครั้งอาจจะมีอาการปวดร่วมด้วย ในบริเวณที่เป็นสะเก็ด

ความแตกต่างของโรคเซ็บเดิร์มและโรคผิวหนังอื่น ๆ

โรคเซ็บเดิร์ม มักจะพบบริเวณศีรษะ ใบหน้า ระหว่างคิ้ว ร่องจมูก เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมีลักษณะผื่นที่แตกต่างจากโรคผิวหนังอื่น ๆ เปรียบเทียบโรคเซ็บเดิร์มกับโรคสะเก็ดเงิน ผื่นของเซ็บเดิร์มจะมีความเปียกและมันมากกว่า สะเก็ดเงินจะมีสีเงินและวาว และกลากบนหนังศีรษะ มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเซ็บเดิร์ม แต่โรคเซ็บเดิร์มจะแตกต่างจากกลากบนหนังศีรษะตรงที่ เซ็บเดิร์มเป็นโรคไม่ติดต่อ 

โรคเซ็บเดิร์ม มักจะพบบริเวณศีรษะ ใบหน้า ระหว่างคิ้ว ร่องจมูก เป็นส่วนใหญ่

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม

สำหรับสาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ปัจจัย ดังนี้

1. ปัจจัยทางพันธุกรรม

สำหรับในคนที่มีคนในครอบครัวเคยมีประวัติของอาการเซ็บเดิร์ม อาจจะมีส่วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม รวมไปถึงพันธุกรรมโรคภูมิแพ้ ก็อาจจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคเซ็มเดิร์มขึ้นได้ด้วย

2. ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดความผิดปกติ หรือระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่สมดุลกัน จนทำให้เกิดระบบภูมิต้านทานผิดปกติ และภาวะความเจ็บป่วยไม่สบายของร่างกาย รวมไปถึงระบบภูมิกันร่างกายและผิวอ่อนแอ ส่งผลให้มีส่วนทำให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้

3. การติดเชื้อของยีสต์ ชนิด Malassezia

โดยปกติแล้วมักจะพบยีสต์ชนิด Malassezia ได้ทั่วไปบนผิวหนังมนุษย์ เป็นยีนส์ที่ต้องการไขมันในการเจริญเติบโต มันจะกินไขมันที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันเป็นอาหาร ซึ่งในบางคนถ้าหากมียีสต์ตัวนี้จำนวนมากเกินปกติ มีส่วนทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ง่าย และอาจจะส่งผลให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้ด้วย

4. การผลิตน้ำมันส่วนเกินจากต่อมไขมัน

อย่างที่บอกไปว่ายีสต์ชนิด Malassezia มันจะกินไขมันที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันเป็นอาหาร มีส่วนทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ง่าย และอาจจะส่งผลให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้ด้วย ถ้าหากบนผิวหนังมีการผลิตน้ำมันมากเกิน ก็เป็นต้นตอการสะสมของสารอาหารที่ยีสต์ Malassezia ใช้ในการเจริญเติบโต จนอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง เป็นโรคเซ็บเดิร์มขึ้นมาได้

5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เนื่องจากฮอร์โมนเดินทางผ่านกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย เมื่อระดับฮอร์โมนที่แปรปรวน หรือฮอร์โมนทำงานไม่ปกติ ทำให้มีอาการเกิดขึ้นได้กับหลายส่วน ทั้งอาการเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล ผมบาง ผมร่วงง่าย รวมไปถึงส่งผลต่อผิวพรรณด้วย ทำให้ผิวแห้ง และอาจจะส่งผลให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้ด้วย

6. ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ

โรคเซ็มเดิร์ม เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็มีส่วนทำให้ร่างกายอ่อนแอ ระบบในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความเครียดทั้งทางจิตใจและกาย สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบและเกิดเซ็บเดิร์มได้

7. สภาพอากาศ มลพิษทางอากาศ

สภาพอากาศเย็น แห้ง ขาดความชุ่มชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ เพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น รวมไปถึงความร้อน แสงแดด หรือรังสี UV มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะ ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้ด้วย

เซ็บเดิร์มเป็นโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณหนังศีรษะ

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเซ็บเดิร์ม

โรคเซ็บเดิร์มสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยใน เด็กทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน แต่โดยทั่วไปอาการจะหายเองเมื่อโตขึ้น นอกจากนั้นยังพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี โดยเฉพาะเพศชาย อาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และยังสามารถเกิดได้ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเซ็บเดิร์มมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคนี้จากครอบครัว หรือมีภาวะระบบภูมิต้านทานผิดปกติ เป็นต้น

บริเวณที่พบอาการเซ็บเดิร์มบ่อย

เซ็บเดิร์มเป็นโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น รวมถึงบริเวณที่มีความอับชื้นและการเสียดสีอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการผลิตน้ำมันมากบนผิวหนังและมีไรขน เช่น หนังศีรษะ ใบหน้า จมูก ไรผม หลังใบหู หน้าอก หลัง รักแร้ ข้อพับแขน ขา และขาหนีบ เป็นต้น

การป้องกันโรคเซ็บเดิร์ม

เนื่องจากโรคเซ็บเดิร์มมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่สมดุล จึงสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และเพื่อไม่ให้อาการของเซ็บเดิร์มกลับมาเป็นอีก สามารถลดความรุนแรงของอาการ และป้องกันโรคเซ็บเดิร์มได้จากวิธีเหล่านี้

1. ทำความสะอาดผิวหน้าและกายอย่างเป็นประจำ

การติดเชื้อของยีสต์ชนิด Malassezia เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็บเดิร์ม รวมไปถึงมลพิษทางอากาศ ทั้งฝุ่น ควัน มลภาวะต่าง ๆ เพื่อจัดการไม่ให้เชื้อของยีสต์เติบโต และขจัดมลภาวะ ฝุ่น ควัน ที่มีส่วนทำให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น ควรทำความสะอาดผิวหน้า และผิวกายเป็นประจำ แนะนำให้ล้างหน้าและอาบน้ำวันละสองครั้ง เช้า-เย็น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและความมันบนผิวหนัง

2. ใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผิวและผมที่อ่อนโยน

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มีส่วนทำให้ผิวแพ้ง่าย และเกิดการอักเสบได้ง่าย จึงควรเลี่ยงสกินแคร์และโลชั่น ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ลองเปลี่ยนมาดูแลผิวหนังให้สะอาดด้วยสบู่ที่อ่อนโยน แชมพูต้านเชื้อเป็นประจำทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดคราบมันบนผิวหนังที่เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดเซ็บเดิร์ม และช่วยลดจำนวนของเชื้อราบนผิวหนังไปด้วย

3. กำจัดขนในบริเวณต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายส่วนของร่างกาย และมักจะพบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ และบริเวณผิวหนังที่มีความมัน รวมไปถึงบริเวณที่มีความอับชื้น และการอักเสบของผิวหนัง จึงควรจำกัดขนบริเวณที่มีขนหนา เช่น หนวด เครา รักแร้ และจุดซ่อนเร้น เท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอับชื้นและการอักเสบของผิวหนัง

4. ปกป้องผิวจากสภาพอากาศหนาวเย็นและแห้งมากเกินไป

สภาพอากาศเย็น แห้ง ขาดความชุ่มชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ เพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวและทำให้ผิวไม่แข็งแรง บอบบางลง ควรบำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิว แนะนำให้ทาหลังจากอาบน้ำ ผิวจะเก็บกักความชุ่มชื้นได้ดี

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคเซ็มเดิร์ม เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง มีความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระบบในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความเครียดทั้งทางจิตใจและกาย สามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบและเกิดเซ็บเดิร์มได้ จึงควรรักษาร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเซ็บเดิร์ม หรือกลับมาเป็นเซ็บเดิร์มอีก

6. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

นอกจากในเรื่องของการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และเรื่องของการลดความเครียดลงแล้ว อีกหนึ่งวิธีดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคเซ็บเดิร์มที่อาจจะกลับมาเป็นซ้ำเพราะภูมิตก ก็คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน ประมาณ 6-8 แก้ว หรือประมาณปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน รวมไปถึงการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และนำไปใช้หล่อเลี้ยงระบบการทำงานของร่างกายให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

7. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และทานอาหารไม่เป็นประโยชน์

อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารแปรรูป อาหารน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และการสูบบุหรี่ ฯลฯ เป็นสิ่งที่กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย เพิ่มการผลิตน้ำมันบนผิวหนัง อาจจะทำให้เกิดโรคเซ้บเดิร์ม และยังมีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตก จนกลับมาเป็นเซ็บเดิร์มซ้ำได้อีก

ควรทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่มักจะเป็นเซ็บเดิร์มอยู่เสมอ

วิธีดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับคนเป็นโรคเซ็บเดิร์ม

โรคเซ็บเดิร์มมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่สมดุล จึงสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก แต่ก็สามารถดูแลลดความรุนแรงของอาการ และรักษาให้ดีขึ้นได้ ด้วยหลายวิธี ได้แก่

1. หมั่นทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่มักจะเป็นอยู่เสมอ

เซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยบนหนังศีรษะและผิวหนังบริเวณที่มีความมัน จึงควรทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่มักจะเป็นอยู่เสมอ ด้วยการล้างน้ำเปล่า และสบู่ที่มีความอ่อนโยน จากนั้นเช็ดตัวให้แห้ง เพื่อป้องกันคราบมัน และเชื้อราบนผิวหนัง

2. ใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผิวและผมที่มีค่า pH ใกล้เคียงกับผิว

ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหนังและหนังศีรษะที่มีความอ่อนโยน และเหมาะกับสภาพผิวเรามากที่สุด โดยดูค่า PH ที่เป็นกรดด่างไม่ให้มากเกินไป หรือเลือกจากค่า pH ที่ใกล้เคียงกับผิว อยู่ที่ประมาณ  4.1 – 5.8 รวมไปถึงหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เป็นเซ็บเดิร์มมากขึ้น

3. อาบน้ำและสระผมเป็นประจำ

มลภาวะ ฝุ่น ควัน หรือสิ่งสกปรก เชื้อราบนผิวหนัง  ไม่ควรเข้านอนทั้ง ๆ ที่ออกไปเผชิญมลภาวะข้างนอกมา มีส่วนทำให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น จึงควรอาบน้ำและสระผมเป็นประจำ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและความมันบนผิวหนัง

4. ไม่ควรเกาหรือถูบริเวณแผลอย่างรุนแรง

การเกาบริเวณแผลเซ็บเดิร์มจะทำให้เกิดการระคายเคือง และรู้สึกแสบมากขึ้น ทำให้ผิวหนังอักเสบมากกว่าเดิม อาจจะทำให้อาการเซ็บเดิร์มไม่ดีขึ้น ถ้าหากมีอาการคัน แนะนำให้ใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนหรือคาลาไมน์ช่วยระงับอาการชั่วคราว และหากเป็นเซ็บเดิร์มบริเวณเปลือกตา ให้ทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยแชมพูเด็กแล้วเช็ดสะเก็ดออกด้วยแผ่นสำลี

5. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และมีเนื้อผ้าที่อ่อนโยนต่อผิว

โรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อหยาบ อาจจะทำให้เกิดการเสียดสีของผิวหนังมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ผิวอักเสบและระคายเคือง จนเกิดเซ็บเดิร์มขึ้นมาได้ จึงควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าที่อ่อนโยนต่อผิว นอกจากนั้นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นเกิดการสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อรา ที่อาจก่อให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้

6. งดการทำหัตถการ ไม่ว่าจะเป็นการทำเลเซอร์ ทรีตเมนต์ หรือการสครับผิวหน้า

การทำหัตถการ ไม่ว่าจะเป็นการทำเลเซอร์ ทรีตเมนต์ หรือการสครับผิวหน้า เป็นการผลัดเซลล์ผิว มีส่วนทำให้ผิวบางลง บางครั้งอาจเกิดการระคายเคือง จนทำให้อาการเซ้บเดิร์มแย่ลงมากกว่าเดิม จึงควรเลี่ยงการทำเลเซอร์ ทรีตเมนต์ หรือการสครับผิวหน้า นอกจากนั้นก็ควรโกนหนวด เครา และขนรักแร้ให้เกลี้ยงเกลา  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอับชื้นและการอักเสบของผิวหนัง

7. หมั่นออกไปรับแสงแดดในช่วงเช้า

แสงแดดตอนเช้ามีวิตามินที่ดีต่อผิว และยังมีส่วนช่วยในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม และโรคผิวหนังต่าง ๆ ด้วย แต่ถึงจะออกไปรับแสงแดด ก็ควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปเจอแดดทุกครั้ง เพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเจอรับแสง UV ที่อาจทำให้ผิวอ่อนแอได้

8. หากมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง

สำหรับคนที่ดูแลรักษาและป้องกันผิวจากอาการเซ็บเดิร์ม แต่ก็ยังไม่หายสักที หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อให้แพทย์ตรวจและวินิจฉัย พร้อมกับรักษาตามอาการต่อไป

ควรอาบน้ำและสระผมเป็นประจำ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและความมันบนผิวหนัง

ผู้ป่วยเป็นโรคเซ็บเดิร์มไม่ควรกินอะไร

เป็นเซ็บเดิร์มห้ามกินอะไรสำหรับการดูแลจากภายใน ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรหลีกเลี่ยงมักเป็นอาหารที่อาจกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย เพิ่มการผลิตน้ำมันบนผิวหนัง หรือทำให้ร่างกายเสียสมดุล เช่น อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารแปรรูป อาหารน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น นอกจากนั้นควรดูแลผิวหนังภายนอกควบคู่กันไปด้วย ทั้งการดูแลความสะอาด เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว และปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ผิวหนังอย่างเคร่งครัด

โรคเซ็บเดิร์ม สามารถรักษาให้หายได้ไหม

เนื่องจากโรคเซ็บเดิร์ม มีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีการพักผ่อนไม่เพียงพอ  มีความเครียด ก็สามารถกลับมาเป็นเซ็บเดิร์มได้ จึงถือได้ว่าโรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้เบาลงได้ ทั้งนี้ระยะเวลารักษาและดูแลจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคลด้วย

เซ็บเดิร์ม กับรังแค ต่างกันอย่างไร

เซ็บเดิร์มและรังแค มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งสาเหตุการเกิดเซ็บเดิร์มเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมัน ส่วนรังแค เป็นเพียงการลอกของเซลล์ผิวหนังบนหนังศีรษะที่เกิดเร็วกว่าปกติ รวมไปถึงอาการที่เกิดขึ้นก็มีความแตกต่างกัน อาการของเซ็บเดิร์ม จะมีอาการคัน แดง และอาจพบในหลายส่วนของร่างกาย ส่วนรังแค มีเพียงขุยสีขาวหรือเทา เกิดเฉพาะบนหนังศีรษะ และอาการของเซ็บเดิร์มจะค่อนข้างมีความรุนแรงมากกว่า อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ส่วนรังแค มักเป็นปัญหาเล็กน้อยที่สามารถจัดการได้ด้วยแชมพูทั่วไป

โรคเซ็บเดิร์มมีผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตประจำวัน?

อย่างที่บอกไปว่าอาการของโรคเซ็บเดิร์ม ค่อนข้างรุนแรงกว่าการเป็นรังแค อาการของเซ็บเดิร์มจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือคันมาก ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก หรือจะต้องใส่เสื้อผ้าทีปกปิดบริเวณแผลตลอดเวลา ทำให้เสียบุคลิกภาพ จึงส่งผลต่อทั้งความเจ็บป่วยทางร่างกาย และยังส่งผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เสียความมั่นใจไปได้ด้วย

โรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้เบาลงได้ ด้วยการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น จึงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ลดความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงดูแลผิวพรรณด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เพื่อไม่ให้สารเคมีไปทำร้ายผิวหนังให้อ่อนแอและบางลง จนเกิดโรคเซ็บเดิร์มขึ้นได้

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.eucerin.co.th/skin-concerns/sensitive-skin/seborrheic-dermatitis?srsltid=AfmBOorca_0b2gTpdvwG_z8fs8w8sJEuy82-WjbVBj1ikmWwoWZ9hTLY
https://www.theoneclinicofficial.com/seborrheic-dermatitis/
https://drviiclinic.com/article/sebderm
https://www.sikarin.com/health/%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/sebderm

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

ผมสีแดง 2025 ไอเดียผมสีแดง ไม่แรงเกินไป เข้าได้ทุกสีผิว

Next

AHA BHA คืออะไร ต่างกันอย่างไร ช่วยให้หน้ากระจ่างใสไร้สิวได้จริงไหม

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2025
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. AHA BHA คืออะไร ต่างกันอย่างไร ช่วยให้หน้ากระจ่างใสไร้สิวได้จริงไหม
  7. 10 สบู่ล้างหน้า ลดสิว ให้ผิวสะอาดกระจ่างใส
  8. ยุงกัด แพ้ยุง เป็นตุ่มยุงกัดคันแดง แก้ยังไงเห็นผล
  9. ผิวลอก รู้จักโรคเซ็บเดิร์ม คืออะไร – รวมสาเหตุ อาการ และวิธีดูแลรักษาให้ดีขึ้น
  10. ผื่นแพ้อากาศ ผื่นคันแพ้ฝุ่น ดูแลรักษาอย่างไร
  11. ผมสีแดง 2025 ไอเดียผมสีแดง ไม่แรงเกินไป เข้าได้ทุกสีผิว
*/?>