‘น้ำมันปลา’ และ ‘น้ำมันตับปลา’ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ชื่อคล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งบทความนี้วัตสันอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับ น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา ให้มากขึ้น แล้วการกินน้ำมันปลาช่วยอะไรบ้าง? น้ำมันปลากินตอนไหน? และน้ำมันปลากินวันละกี่มิลลิกรัม? รวมถึงข้อควรระวังในการกินมีอะไรบ้าง? บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยกัน
น้ำมันปลา คืออะไร?
น้ำมันปลา คือไขมันที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของปลาที่มีไขมันสูง สกัดจากเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของปลา จำพวก ปลาแมกเคอเรล ปลาเฮอร์ริง ปลาทูน่า และปลาแซลมอน ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งสารสกัดในน้ำมันปลาจากปลาเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่ม “โอเมก้า-3 ที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์
น้ำมันตับปลา คืออะไร?
น้ำมันตับปลา คือน้ำมันที่สกัดมาจากตับปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล อย่างเช่น “ปลาค็อด” (cod liver oil ) ซึ่งตับปลาเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน เอ และวิตามิน ดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้น น้ำมันตับปลาจึงมีปริมาณวิตามิน เอ และวิตามิน ดี สูง
น้ำมันปลา VS น้ำมันตับปลา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
ทั้งน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา มีส่วนประกอบที่สำคัญที่เหมือนกัน คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ Docosahexaenoic acid (DHA) และ Eicosapentaenoic acid (EPA) แต่น้ำมันตับปลาจะมี วิตามินเอและวิตามินดี เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ในขณะที่น้ำมันปลาไม่มีวิตามินทั้งสองชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ
โอเมก้า-3 ดีต่อร่างกายของเราอย่างไร?
โอเมก้า3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด
ประโยชน์ของน้ำมันปลา
น้ำมันปลายังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านบำรุงสายตา บำรุงผิวหนัง บำรุงกระดูก ลดการสะสมไขมันในตับ บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าและโรคสมาธิสั้นในเด็ก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนั้นน้ำมันปลายังดีต่อสุขภาพในแง่ที่ให้วิตามิน เอ และวิตามิน ดี อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะได้รับวิตามิน เอ จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผักต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ตําลึง รวมทั้งแคร์รอต ส่วนวิตามิน ดี นั้นก็มีมากในตับและไข่แดง เช่นเดียวกัน โดยปกติแล้ว ร่างกายสามารถสร้างวิตามิน ดี ได้ที่ผิวหนัง โดยผิวหนังที่ได้รับแสงแดด จะสร้างวิตามิน ดี ซึ่งจะถูกเปลี่ยนที่ไตและตับให้เป็นรูปแบบที่ทํางานได้
10 สรรพคุณของน้ำมันปลา
1. บรรเทาไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์
น้ำมันปลามีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดข้อเข่า ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือ จำพวกรูมาตอยด์ในวัยผู้สูงอายุที่มีประสบปัญหาอาการเหล่านี้ น้ำมันปลาจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
2. ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด
น้ำมันปลามีส่วนช่วยป้องกันอาการโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
3. ประโยชน์ต่อระบบความดันโลหิต
น้ำมันปลามีส่วนช่วยลดในเรื่องความดันโลหิตสูง
4. ประโยชน์ต่อระบบหัวใจ
น้ำมันปลาช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
5. ลดระดับระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
น้ำมันปลามีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นอันตราย
6. ประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง
น้ำมันปลาช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง เพิ่มความจำไม่ให้ขี้หลงขี้ลืมได้ดีขึ้น
7. น้ำมันปลาช่วยลดน้ำหนักได้
น้ำมันปลามีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญให้แก่ร่างกาย ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อทำให้หุ่นดีได้ แต่ก็ควรออกกำลังกายและกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพควบคู่ไปด้วย
8. น้ำมันปลาช่วยลดการอักเสบหรือการอักเสบของกระดูก
เนื่องจากน้ำมันปลามีส่วนช่วยในการลดการผลิตสารและยีนที่หลั่งสารไซโตไคน์
9. น้ำมันปลาช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน
ในน้ำมันปลามีกรด EPA ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้เป็นอย่างดี
10. น้ำมันปลาช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรน
น้ำมันปลาจะช่วยทำให้หลอดเลือดขยาย ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดี และยังช่วยลดสารเซโรโทนินและโพรสตาแกลนดินอีกด้วย
วิธีทานน้ำมันปลา / fish oil กินตอนไหนดีที่สุด?
ควรทานน้ำมันปลาพร้อมกับมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหาร 30 นาที เพื่อลดอาการคลื่นไส้ เวียนหัว และปรับวิธีการทานตามฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลาแต่ละแบรนด์ที่เลือกทาน
ปริมาณน้ำมันปลาที่ควรทาน
- สำหรับบุคคลทั่วไป ควรทานน้ำมันปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง นับรวมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีกรด alpha-Linolenic acid สูง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง เต้าหู้ หรือเมล็ดธัญพืช
- ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ควรทานน้ำมันปลา 1,000 มิลิกรัม/วัน โดยประมาณ
- ผู้ป่วยที่อยากลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ควรทานวันละ 2-4 กรัมต่อวัน และต้องปรึกษาแพทย์เข้าของไข้ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อความปลอดภัย เพราะการทานน้ำมันปลาปริมาณสูง อาจจะทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลง
อาหารที่ควรเลี่ยง เมื่อทานน้ำมันปลา
ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมัน หรือ คอลเรสเตอรอลสูง เพราะน้ำมันปลาจะทำให้ให้การลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ไม่ดีพอหากไม่ทานตามที่แพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่มระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และทำให้การทานน้ำมันปลาไม่เห็นผล
ใครควรทานน้ำมันปลา
- ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่ชอบทานอาหารไขมันสูง หรือมีภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
- ผู้ที่ปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งแตก
- ผู้ที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
ใครไม่ควรทานน้ำมันปลา
- ผู้ที่แพ้ปลา อาหารทะเล
- ผู้ที่ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
และในกรณีที่เป็นคุณแม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือในนมบุตร จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทานน้ำมันปลา
ข้อควรระวังในการทานน้ำมันปลา
หากทานน้ำมันปลาแล้วมีอาการเป็นผื่น ลมพิษ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน ควรจะต้องพบแพทย์ และได้รับการรักษาทันที สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทานน้ำมันปลาได้ให้เลือกทานอาหารแบบอื่นๆ ที่มีกรดไขมัน Omega 3 เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา น้ำมันวอลนัท ใบงา เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ทานน้ำมันปลาอาจพบเจอผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น
- ท้องอืด เรอมีกลิ่นคาวปลา
- มีกลิ่นปาก
- คลื่นไส้ เวียนหัว
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก
10 ไอเทมน้ำมันปลาที่วัตสันขอแนะนำ
1.Mega Fish Oil 1000mg.
ราคา 200 บาท
ปริมาณ 30 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลาให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ อีพีเอ และดีเอชเอ ใน 1 แคปซูล มีน้ำมันปลา 1000 มก. ประกอบด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (อีพีเอ) 180 มก.
2.Blackmores Fish Oil 1000 Mg
ราคา 820 บาท
ปริมาณ 80 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลาที่สกัดมาจากน้ำมันปลาทะเล ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ อีพีเอและดีเอชเอ ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (โอเมก้า-3) กรดไอโคซาเพนทาอิโนอิก (อีพีเอ) 180 มิลลิกรัม กรดโดโคซาเฮกซาอิโนอิก (ดีเอชเอ) 120 มิลลิกรัม
3.Nurtrimaster Fish Oil
ราคา 1,900 บาท
ปริมาณ 100 แคปซูล 2 ขวด ฟรี 30 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลาสกัดจากปลาทะเลน้ำลึก มีกรดไอโคซาเพนทาอิโนอิก (EPA) คุณสมบัติในการช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากนี้ EPA ยังช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวมของโรคข้ออักเสบด้วย และยังมีกรดไดโคซาเฮกซาอิโนอิก (DHA) ช่วยในเรื่องความจำ และช่วยบำรุงจอประสาทตา ช่วยในการมองเห็น เป็นประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นที่มีพัฒนาการด้านสมอง ความเครียดจากการทำงานหนักใช้สายตามากเป็นประจำ และผู้สูงอายุที่เริ่มมีความเสื่อมของเซลล์สมอง
4.Vistra Salmon Fish Oil
ราคา 200 บาท
ปริมาณ 30 เม็ด
ลักษณะ เม็ด
จุดเด่น ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลาสกัดจากปลาแซลมอน ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 350 มก. กรดไอโคซาเพนตาอิโนอิก Eicosapentaenoic Acid (EPA) 180 มก. กรดโดโคซาเฮคซาอิโนอิก Docosahexaenoic Acid (DHA) 120 มก. นอกจากนั้นยังมีวิตามินอี อะซิเทต (ให้วิตามินอี 10 หน่วยสากล ) 9.09 มก.
5.Blackmores Fish Oil Mini
ราคา 670 บาท
ปริมาณ 60 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลา สูตรน้ำมันปลาเม็ดเล็ก กินง่าย ไม่มีกลิ่นคาว ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ อีพีเอ และดีเอชเอ และมีวิตามิน อี ที่มีส่วนช่วยใน กระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ผ่านการตรวจสอบปริมาณสารปรอทและตะกั่วมาแล้ว
6.Zeavita Tuna Head Fish Oil Plus
ราคา 1,600 บาท
ปริมาณ 60 เม็ด
ลักษณะ เม็ด
จุดเด่น เม็ดเล็ก ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
น้ำมันปลาตัวนี้สกัดเย็นมาจากหัวทูน่าทะเลน้ำลึก นอกจากนั้นยังมีเบอรรี่ (Bilberry) สารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric Extract) วิตามินบี 2 มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็น วิตามินบี 12 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง วิตามินบี 6 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท วิตามินอี มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
7.Watsons Fish Oil
ราคา 350 บาท
ปริมาณ 60 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมน้ำมันปลาของวัตสัน มีส่วนประกอบจากน้ำมันปลา 1000 มก. ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ อีพีเอ และ ดีเอชเอใน 1 แคปซูลมีน้ำมันปลา 1000 มก. ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) 180 มก. กรดโดโคเฮกซาอีโนอิก (ดีเอชเอ) 120 มก. ผลรวมกรดไขมันโอเมก้า-3 350 มก. ช่วยบำรุงผิว เส้นผมและเล็บให้มีสุขภาพดีและช่วยเพิ่มความจำบำรุงประสาทและสมอง
8.DR.PONG Daily Omega-3 odorless fish oil 1000 mg plus vitamin E
ราคา 299 บาท
ปริมาณ 75 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
น้ำมันปลา (Fish Oil) ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 350 มก. (Total Omega-3) ให้กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก 180 มก. (Eicosapentaenoic acid, EPA) กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก 120 มก. (Docosahexaenoic acid, DHA) 1000 มก./แคปซูล นอกจากนั้นยังมีวิตามินอี อะซิเทต (ให้วิตามินอี 15 หน่วยสากล) (d-Alpha-Tocopheryl acetate)
9.Blackmores Omega Triple Daily
ราคา 964 บาท
ปริมาณ 60 แคปซูล
ลักษณะ แคปซูล
จุดเด่น ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมโอเมก้า 3 จากน้ำมันปลา ให้กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ให้ดีเอชเอ 360 มก. และ อีพีเอ 540 มก. ต่อแคปซูล เมื่อเทียบกับสูตรมาตรฐานจะให้โอเมก้า-3 ถึง 3 เท่า นอกจากนั้นยังเป็นสูตรน้ำมันปลาที่ไม่มีกลิ่นคาว และผ่านการตรวจสอบปริมาณสารปรอทและตะกั่วมาแล้ว
10.Nutri Master Bain Syrup
ราคา 250 บาท
ปริมาณ 150 มล.
ลักษณะ ไซรัป
จุดเด่น ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว อุดมไปด้วยสารสกัดบำรุงร่างกาย
อาหารเสริมสำหรับเด็ก เป็นน้ำมันปลาทูน่า ดีเอชเอ เข้มข้น 70 ผสมวิตามิน เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองโดยเฉพาะ มีโอเมก้า 3 ที่ทีสัดส่วนของ DHA ความเข้มข้นสูงถึง 70% เป็น DHA คุณภาพดี และมีค่าทางชีวภาพสูง (High bio – availability) ซึ่งสามารถดูดซึมและคงตัวอยู่ในกระแสเลือดได้นาน ทำให้ออกฤทธิ์ได้นาน จึงมีปราคา 250 บาท
ระสิทธิภาพที่สูงกว่าน้ำมันปลาทั่วไป ที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นคาว อร่อย รับประทานง่าย กลิ่นผลไม้รวม
8 วิธีเลือกซื้อน้ำมันปลา
1. เช็กปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3
เช่น DHA และ EPA เช็กว่ามีปริมาณเท่าไร และเหมาะสมกับราคาที่ต้องจ่ายมั้ย
2. เลือกรูปแบบของเม็ดหรือแคปซูลที่สะดวก
น้ำมันปลามีหลายชนิดมากมาย ลองเลือกที่เราสามารถทานได้ดีที่สุด เช่น น้ำมันปลาในรูปแบบเม็ดซอฟต์เจลขนาดเล็ก กลืนง่าย แต่อาจต้องกินมากกว่า 1 เม็ดต่อวัน หรือแคปซูลเม็ดใหญ่ที่กินวันละแค่ 1 แคปซูล เป็นต้น
3. ถ้าไม่ชอบกลิ่นน้ำมันปลา ให้เลือกแบบไร้กลิ่น
สำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นคาว หรือที่ระบุคำว่า Odorless บนฉลาก หรือลองเลือกยี่ห้อที่แต่งกลิ่น เพื่อลดกลิ่นคาวของน้ำมันปลาก็ได้
4. เช็กข้อควรระวังของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้ดี
บางยี่ห้อจะระบุว่าเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน หรือแจ้งสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อาหาร เช่น มีส่วนผสมของปลาทะเล อาหารทะเล มีถั่วเหลือง มีกลูเตน เป็นต้น
5. ซื้อน้ำมันปลาจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน
จากแบรนด์มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองจาก อย.
6. เช็กวันผลิตและวันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์
เพื่อให้น้ำมันปลาทำหน้าที่ได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
7. ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
โดยเฉพาะคนที่มีอาการแพ้ หรือมีโรคประจำตัว ควรรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทาน
8. เลือกซื้อกับเภสัชกรหรือซื้อตามแพทย์สั่งเท่านั้น
เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำมันปลามีความปลอดภัยต่อเรามากที่สุด
จบไปแล้วนะคะกับคุณประโยชน์ของน้ำมันปลาที่คุณควรรู้ หากใครสนใจสามารถลองหาน้ำมันปลามาลองทานกันได้ค่ะ แต่แนะนำว่าควรศึกษาข้อมูลก่อนซื้อมาทานนะคะ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว ทางที่ดีควรทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ5หมู่ ออกกำลังกาย ให้ร่างกายแข็งแรง จะช่วยได้อย่างมากค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
น้ำมันปลาคืออะไร กินอย่างไร กินตอนไหน ให้ได้ประโยชน์สูงสุด https://nutrilite.co.th/th/article/fish-oil#:~:text=กินน้ำมันปลาตอนไหน,มื้ออาหารจะดีที่สุด
คลายข้อสงสัย กิน “น้ำมันปลา” อย่างไรให้ร่างกายได้ประโยชน์สูงสุด https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2481107
Fish oil น้ำมันปลา ประโยชน์ดียังไง บํารุงสมองได้จริงไหม กินยี่ห้อไหนดี https://health.kapook.com/view266698.html
คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ
- 40 ไอเดียสีเล็บลูกแก้ว เล่นแสงส่องประกาย
- แจกไอเดียเล็บ คริสต์มาส เปลี่ยนลุคให้ดูสดใส พร้อมเฉิดฉาย
- โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
- 10 ลายเล็บเจลมือขาว ขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว ทําให้มือสว่าง
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร