Get the App
DOWNLOAD NOW
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
Find a Store Blog
Watsons Services
0
MY BAG
Share
เผย 5 อาหารที่ดีต่อลำไส้ และวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรง

สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ก็ต้องพยายามกันซักหน่อย เช่นเดียวกันกับความสวยที่แม้ว่าบางคนจะเกิดมาพร้อมกับรูปร่างหน้าตาที่สวยตามพิมพ์นิยม แต่ถ้าไม่หมั่นรักษาดูแลตัวเอง ความสวยปังอาจจะกลายเป็นสวยดับก็เป็นได้ แต่ครั้งนี้ ‘วัตสัน’ ไม่ได้มาชวนทำศัลยกรรมยกเครื่องใหม่ทั่วหน้าหรอกนะ แต่จะชวนมาดูแลความสวยจากภายในกับ ‘วิธีที่ทำให้ลำไส้แข็งแรง’ และมาแนะนำอาหารที่ดีต่อลำไส้ ที่จะช่วยให้คุณสวยใสแบบมีออร่า มั่นใจได้ทั้งผิวปังและหุ่นเป๊ะแน่นอน


ความสำคัญของ ‘ลำไส้

ความสำคัญของลำไส้

แต่ก่อนที่เราจะรู้วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรง และอาหารที่ดีต่อลำไส้นั้นเราควรจะต้องรู้กันก่อนว่าเพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องทำให้ลำไส้แข็งแรง อย่างที่ทราบกันดีว่าลำไส้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร ที่ทำหน้าที่ทั้งดูดซึมสารอาหารจำเป็นนำไปใช้งาน และบีบรัดกากอาหารที่เหลือจากการย่อยขับเป็นของเสียออกจากร่างกาย

ข้อดีของการทำให้ลำไส้แข็งแรง

การดูแลลำไส้ด้วยวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรง

ข้อดีของการดูแลลำไส้ด้วยวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงนั้น แน่นอนว่าระบบการขับถ่ายของคุณก็จะสามารถดำเนินไปได้ดีตามปกติ ร่างกายก็จะไม่เป็นแหล่งสะสมของเสีย รู้สึกเบาสบายท้อง ลดความเสี่ยงการเกิดอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร ไปจนกระทั่งมะเร็งลำไส้ และวิธีการทำให้ลำไส้แข็งแรงด้วยอาหารที่ดีต่อลำไส้นั้นจะส่งผลโดยตรงกับผิวพรรณของคุณ ทั้งปัญหาเรื่องสิวโดยเฉพาะสิวเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ปัญหาผิวหมองคล้ำดูไม่สดใส

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรง

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงโดยการดื่มน้ำสะอาดให้มาก

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงโดยการดื่มน้ำสะอาดให้มาก

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพและวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงที่ง่ายที่สุด และลงทุนน้อยที่สุดก็คือการดื่มน้ำสะอาดแทนการดื่มน้ำหวาน ชา กาแฟ เพราะน้ำสะอาดถือเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีต่อลำไส้ มีส่วนช่วยให้ระบบการขับถ่ายเป็นไปได้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยขับของเสียตกค้างออกจากร่างกาย ทำให้อุจจาระนิ่มตัวลง ป้องกันการเกิดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี โดยปริมาณแนะนำต่อวันก็คือ 7-8 แก้ว โดยค่อยๆจิบไปเรื่อยๆตลอดทั้งวันเท่านี้ ก็จะเป็นวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงได้แล้ว

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้

อาหารที่ดีต่อลำไส้มีทั้งประเภทที่เป็นอาหารกากใยสูง และอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร ที่สำคัญไม่ต้องกังวลว่าอาหารที่ดีต่อลำไส้นั้นจะหาทานได้ยากเพราะที่จริงแล้วอาหารที่อยู่ใกล้มือคุณก็อาจจะเป็นอาหารที่ดีต่อลำไส้ได้ เช่น

– แอปเปิ้ล : เป็นอาหารที่ดีต่อลำไส้ เพราะอุดมไปด้วยใยอาหารที่จะช่วยดึงของเสียตกค้างให้ออกมาจากลำไส้ อีกทั้งยังมีรสชาติเปรี้ยวอ่อนๆที่จะให้กระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้อย่างดีเป็นอีกวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง อีกทั้งอาหารที่ดีต่อลำไส้ชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษได้ด้วย

– น้ำมะนาว : อาหารที่ดีต่อลำไส้อย่างมะนาวนั้นมีรสเปรี้ยวจัดที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้บีบรัดนำของเสียออกได้ดีขึ้นซึ่งเป็นวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง อีกทั้งในมะนาวยังมีวิตามินซีสูงซึ่งช่วยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันได้ด้วย แนะนำให้ชงน้ำมะนาว 1 ผลกับน้ำอุ่นดื่มทุกเช้าก็จะเป็นอาหารที่ดีต่อลำไส้แน่นอน

– ใบกะเพรา : หนึ่งในตัวการที่ทำให้ระบบการย่อยอาหารเสื่อมลงนั่นก็คือไขมันที่ตกค้างอยู่ในอวัยวะที่ใช้ย่อยอาหารไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร หรือว่าลำไส้ อาหารที่ดีต่อลำไส้ที่ ‘วัตสัน’ อยากแนะนำก็คือ ใบกะเพราซึ่งมีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดี อีกทั้งยังช่วยย่อยไขมันทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรงมากขึ้น

– กระเทียม : อาหารที่ดีต่อลำไส้อีกอย่างหนึ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงกันนั่นก็คือ ‘กระเทียม’ ซึ่งเป็นสมุนไพรก้นครัวช่วยให้เรื่องการขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อีกทั้งยังช่วยเกี่ยวกับการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่ออาหารถูกย่อยได้ดีก็จะมีอาหารเหลือตกค้างในระบบย่อยอาหารน้อยลง ซึ่งเป็นวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรงนั่นเอง

– นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต : อาหารที่ดีต่อลำไส้อันอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ชั้นดี และที่สำคัญหาซื้อได้ง่ายคงหนีไม่พ้นนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต ซึ่งจุลินทรีย์ชั้นดีนี้จะเป็นตัวการเข้าไปช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นให้ระบบขับถ่าย เป็นอีกวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นอาหารที่ดีต่อลำไส้ชั้นเลิศทีเดียว

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง

ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าการออกกำลังกายนั้นจะเป็นวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงได้อย่างไร การออกกำลังกายเบาๆในช่วงเช้าจะช่วยไปกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการบีบรัดตัวได้ดีมากยิ่งขึ้น เมื่อลำไส้เกิดการบีบรัดตัวก็จะไปช่วยดันของเสียที่ตกค้างอยู่ออกไปจากร่างกายเช่นเดียวกัน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ให้ลำไส้แข็งแรงได้ด้วย

4. รับประทานอาหารให้ตรงเวลาคือวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง

รับประทานอาหารให้ตรงเวลาคือวิธีทําให้ลําไส้แข็งแรง

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงที่ง่ายแต่ผู้คนมักจะมองข้ามกันไปเสมอนั่นคือการฝึกรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ด้วยกิจวัตรของผู้คนที่งานรัดตัวจนไม่มีเวลาจะทานอหารให้ตรงเวลา หรืออาจจะข้ามบางมื้ออาหารนั้นไม่ใช่วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงแต่กลับได้ผลตรงกันข้าม เพราะถ้าหากไม่รับประทานอาหารให้ตรงเวลา กระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมา ซึ่งหากไม่มีอาหารให้ย่อยก็จะทำให้กระเพาะอาหารถูกทำร้ายโดยน้ำย่อยซึ่งเป็นกรดได้ด้วย

5. วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงโดยการหลีกเลี่ยงความเครียด

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงโดยการหลีกเลี่ยงความเครียด

นอกจากการทานอาหารที่ดีต่อลำไส้ ความเครียดก็เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับทั้งร่างกายและจิตใจ แต่โดยส่วนมากมักจะไม่ทันสังเกตอาการทางร่างกายที่เกิดจากความเครียดที่ก่อตัว ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ ผิวพรรณไม่สดใส รวมไปถึงอาการที่ส่งผลไปถึงระบบย่อยอาหาร วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงภาวะความเครียดด้วย

วิธีทำให้ลำไส้แข็งแรง และอาหารที่ดีต่อลำไส้ที่ ‘วัตสัน’ นำมาแนะนำกันในครั้งนี้น่าจะช่วยให้คุณสามารถนำไปดูแลลำไส้ให้สุขภาพดีจากภายใน สวย ใส บลิ้งค์ออกมาได้จนถึงภายนอก และครั้งหน้าวัตสันจะมีบทที่ทั้งมีสาระ และน่าติดตามเกี่ยวกับเรื่องอะไรมาอัพเดทกันอีกก็อย่าลืมติดตามกันได้ในทุกช่องทางเลยนะ


คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

ทำไมถึงต้องใช้แชมพูสีม่วง :สำหรับผมทำสี

Next

วิธีลดรอยแผลเป็นบนใบหน้า

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
  10. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  11. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
*/?>