Get the App
DOWNLOAD NOW
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
Find a Store Blog
Watsons Services
0
MY BAG
Share

ช่วงนี้เภสัชกรได้ให้คำปรึกษาบ่อย ๆ เกี่ยวกับปัญหาท้องผูก จะพบว่าคนยุคใหม่มักประสบปัญหาท้องผูกมากขึ้น เนื่องจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมสมัยใหม่ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร 

ในปัจจุบันผู้คนมักรับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อย ขาดการออกกำลังกาย การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ ความเครียดและความวิตกกังวล มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร โดยอาจทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ซึ่งส่งผลให้ท้องผูกได้ 

หรือการดื่มน้ำไม่เพียงพอทำให้อุจจาระแข็งยากต่อการขับถ่าย การดูแลสุขภาพและปรับพฤติกรรม เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง การออกกำลังกาย จะช่วงป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้หรืออาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมให้การขับถ่ายดีขึ้น เช่น โพรไบติกส์ พรีไบโอติกส์ ไฟเบอร์

โพรไบโอติกส์ คืออะไร

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มีประโยชน์ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนระบบทางเดินอาหาร รวมถึงในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ตัวอย่างจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้คือ Lactobacillus และ Bifidobacterium ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน ป้องกันและรักษาสมดุลไม่ให้จุลินทรีย์ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคเติบโต ซึ่งยังสามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

 พรีไบโอติกส์ คืออะไร

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คือ เส้นใยอาหารหรือคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ร่างกายย่อยไม่ได้ แต่มีประโยชน์ในการเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ดีในลำไส้ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกส์ ตัวอย่างของพรีไบโอติกส์ได้แก่ อินูลิน และฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์

โดยทั้ง โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์สามารถพบได้ในอาหารประจำวัน เช่น โพรไบโอติกส์พบใน โยเกิร์ตกิมจิ หรือ ถั่วเหลืองหมัก ส่วนพรีไบโอติกส์พบในผักและผลไม้ เช่น กล้วย หัวหอม กระเทียม โดยในแต่ละวันเราควรได้รับ probiotics ตั้งแต่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรือ 10,000 ล้าน CFU 

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าการได้รับโพรไบโอติกส์ และ พรีไบติกส์ จากอาหารเพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวันหรือไม่ ทั้งนี้เราสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์มารับประทานเพิ่มได้ตามความต้องการ


ความแตกต่างของ โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ดี ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ส่วนพรีไบโอติกส์ คือ อาหารของพวกโพรไบโอติกส์ ดังนั้นการทำงานร่วมกันของทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ จะช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้

ความแตกต่างของ โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์

ทำไมเราควรกินโพรไบโอติกส์

การรับประทานโพรไบโอติกส์ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ได้ดี จากการศึกษางานวิจัยพบว่า การรับประทานโพรไบโอติกส์ มีผลดีต่อระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน เช่น คนที่ท้องเสีย ลำไส้ทำงานแปรปรวน ท้องผูก มีการติดเชื้อในช่องคลอด มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นภูมิแพ้ หรือผู้ที่รับประทานยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน 

หากพบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ การเลือกรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีและส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกาย

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง  

  1. โพรไบโอติกส์มีประโยชน์ในการช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ของร่างกาย 
  2. ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
  3. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย 
  4. ลดอาการท้องเสียโดยเฉพาะจากการใช้ยาปฏิชีวนะ 
  5. ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร 
  6. กระตุ้นการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร 
  7. ลดความเสี่ยงของโรคลำไส้ 
  8. ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องคลอด และทางเดินปัสสาวะ 
  9. ช่วยให้ปัญหาภูมิแพ้ลดลง
  10. มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิด LDL

5 อาหารที่มีพรีไบโอติกส์ชั้นเยี่ยม


  1. หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus)
หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่งถือเป็นแหล่งพรีไบโอติกส์ที่มีอินูลินสูง ซึ่งเป็นเส้นใยชนิดหนึ่งที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ เช่น Bifidobacteria รวมถึงช่วยปรับปรุงระบบย่อยอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกัน และสนับสนุนสุขภาพหัวใจ

2.อาร์ติโช้ค (Artichokes)

Artichokes

อาร์ติโช้คเป็นพืชที่มีอินูลินสูง ซึ่งช่วยในกระบวนการย่อยอาหารโดยการเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้และช่วยลดความไม่สบายท้อง เช่น ท้องอืด รวมถึงช่วยสนับสนุนการทำงานของตับให้ดีมากยิ่งขึ้น 

3.หอมใหญ่และกระเทียม

หอมใหญ่กระเทียม

หอมใหญ่และกระเทียมเป็นอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ตามธรรมชาติในรูปของอินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (FOS) ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบ

4.ต้นหอมฝรั่ง (Leeks) 

ต้นหอมฝรั่งมีสารพรีไบโอติกส์ที่ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร คล้ายกับหอมใหญ่และกระเทียม นอกจากนี้ยังมีเส้นใยอาหารที่ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.รากชิโครี่ (Chicory Root)

Chicory Root

รากชิโครี่เป็นแหล่งอินูลินที่เข้มข้นที่สุดในอาหารธรรมชาติ โดยอินูลินในรากชิโครี่ช่วยในการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


พรีไบโอติกส์ในท้องตลาดมีรูปแบบใดบ้าง

1.แบบผง

แบบผง

ลักษณะ:

  • พรีไบโอติกส์เนื้อละเอียด ละลายง่ายในน้ำหรือของเหลว
  • ส่วนใหญ่มักไม่มีกลิ่นและไม่มีสี ทำให้ผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มได้โดยไม่ส่งผลต่อรสชาติ

ข้อดีของพรีไบโอติกส์แบบผง ช่วยอะไรบ้าง:

  • ใช้งานง่าย ปรับปริมาณการใช้ได้ตามความต้องการ
  • เหมาะสำหรับคนที่ต้องการพรีไบโอติกส์ในปริมาณมาก
  • สามารถผสมในอาหารและเครื่องดื่มได้หลากหลาย

ข้อเสียของพรีไบโอติกส์แบบผง:

  • อาจไม่สะดวกในการพกพา
  • ต้องผสมก่อนบริโภค ซึ่งอาจยุ่งยากสำหรับบางคน

เหมาะสำหรับใคร:

  • ผู้ที่มีปัญหาในการกลืนยา เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องลำคอ
  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มพรีไบโอติกส์ในอาหารหรือเครื่องดื่ม

2. แบบเม็ด

แบบเม็ด

ลักษณะ:

  • มีลักษณะเป็นเม็ด แข็งหรือเคลือบผิว สามารถกลืนได้ง่าย
  • บางผลิตภัณฑ์อาจมีการเคลือบเพื่อให้ละลายเฉพาะในลำไส้

ข้อดีของพรีไบโอติกส์แบบเม็ด ช่วยอะไรบ้าง:

  • พกพาง่าย สะดวกในการรับประทาน
  • ไม่ต้องเตรียมล่วงหน้า

ข้อเสียของพรีไบโอติกส์แบบเม็ด:

  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืน
  • ปริมาณพรีไบโอติกส์ใน 1 เม็ดอาจน้อยกว่ารูปแบบผง

เหมาะสำหรับใคร:

  • ผู้ที่เดินทางบ่อยและต้องการความสะดวก
  • ผู้ที่ไม่มีปัญหาในการกลืนยา

3. แบบเยลลี่

แบบเยลลี่

ลักษณะ:

  • มีลักษณะนิ่ม หอมหวาน เนื้อสัมผัสคล้ายขนมเยลลี่
  • มักมีรสชาติที่หลากหลาย เช่น ผลไม้ เพื่อเพิ่มความน่ารับประทาน

ข้อดีพรีไบโอติกส์แบบเยลลี่ ช่วยอะไรบ้าง:

  • รสชาติอร่อย ทานง่าย โดยเฉพาะสำหรับเด็ก
  • ไม่ต้องผสมหรือละลายในน้ำ

ข้อเสียของพรีไบโอติกส์แบบเยลลี่:

  • อาจมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่ารูปแบบอื่น
  • ปริมาณพรีไบโอติกส์ต่อชิ้นอาจน้อยกว่าผงหรือเม็ด

เหมาะสำหรับใคร:

  • เด็กที่ไม่ชอบกลืนยา หรือผู้ที่ต้องการทานในรูปแบบขนม
  • ผู้ที่มองหาทางเลือกที่อร่อยและสนุกในการรับพรีไบโอติกส์

จุลินทรีย์ใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์


จุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์ที่มีความนิยม มีดังนี้

1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)

เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่พบมากที่สุดในโพรไบโอติกส์ ช่วยในการย่อยอาหารและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

2. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)

พบในลำไส้ใหญ่ ช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนและปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้

3. แซคคาโรไมซิส บูลาร์ดี (Saccharomyces Boulardii)

เป็นยีสต์ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและปัญหาทางเดินอาหาร

4.สเตรปโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus Thermophilus)

ช่วยในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะไม่ทนทานต่อน้ำตาลแลคโตส

5.เอนเทอโรคอคคัส (Enterococcus)

ช่วยในการย่อยอาหารและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากรับประทานโพรไบโอติกส์


หากมีการรับประทานโพรไบโอติกส์ ในประมาณที่มากเกินไป โดยอาจจะทำให้เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดท้องอืดหรือแน่นท้อง หรือท้องเสียได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานแต่พอดีหรือตามคำแนะนำข้างผลิตภัณฑ์

โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของเรา ทั้งระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีหลายชนิด เช่น แลคโตบาซิลลัส แซคคาโรไมซิส โดยโพรไบโอติกส์ ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้และพรีไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เหล่านี้ 

การรับประทานทั้งสองอย่างร่วมกันสามารถเสริมสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ ซึ่งเราควรรับประทานโพรไบโอติกส์วันละ 10,000 ล้าน CFU ต่อวัน ควบคู่กับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 

นอกจากการได้รับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์จากอาหารแล้ว ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ใส่โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์หลากหลายรูปแบบทั้ง แบบผง แบบเม็ด แบบเยลลี่ แบบแคปซูล ทั้งนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการจดทะเบียน อย.เสมอ และตรวจสอบวันหมดอายุที่บรรจุภัณฑ์ก่อนรับประทาน

เขียนโดย

เขียนโดย ภญ. นันท์นภัส ภัทรเศรษฐไชย สาขา 3213 Century Sukhumvit

ภญ. นันท์นภัส ภัทรเศรษฐไชย สาขา 3213 Century Sukhumvit

Reference

https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-usefulness-and-safety

https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2008/1101/p1073.html

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics

https://samitivejchinatown.com/th/article/health/probiotics

https://ods.od.nih.gov/factsheets/Probiotics-HealthProfessional

👥 เกาะติดโปรโมชั่น พร้อมอัพเดท Lifestyle ที่ Facebook https://www.facebook.com/watsonsthailand
📱 แอปพลิเคชั่น โหลดฟรี! https://watsonsonline.store/apphomepage
💚 แอดไลน์วันนี้ ไม่พลาดทุกโปรโมชั่น! LINE Official Account https://line.me/R/ti/p/@watsonsth?from=page
🌈อัพเดททุกเทรนด์ก่อนใคร ที่ Twitter https://twitter.com/WatsonsThailand
📷 ติดตามเคล็ดลับสุขภาพและความงามที่ Instagram https://www.instagram.com/watsonsth/
💟ส่องเทรนด์มาแรงไปกับเรา https://www.tiktok.com/@watsonsth?lang=th-TH

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี

Next

10 ลายเล็บเจลมือขาว ขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว ทําให้มือสว่าง

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 10 ลายเล็บเจลมือขาว ขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว ทําให้มือสว่าง
  7. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  8. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  9. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
  10. แจกไอเดียเล็บ คริสต์มาส เปลี่ยนลุคให้ดูสดใส พร้อมเฉิดฉาย
  11. 40 ไอเดียสีเล็บลูกแก้ว เล่นแสงส่องประกาย
*/?>