“นี่แกแพนิคหรือเปล่า?” คำพูดติดปากของใครหลาย ๆ คนที่มักจะเกิดเวลาที่รู้สึกว่าคนรอบข้างมีอาการกลัว ตกใจ หรือแสดงอาการตื่นตระหนก แต่คุณรู้ไหมว่า คำว่าแพนิคนั้นแท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ มันอันตรายจริง ๆ หรอ ไม่ต้องกังวลใจไป
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบเกี่ยวกับโรคแพนิค พร้อมวิธีสยบอาการแพนิคเบื้องต้น เพราะพวกเราทุกคนต้องมีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาพกายแฮปปี้
โรคแพนิค
โดยรวมแล้วโรคแพนิคหรือโรคอาการตื่นตระหนก เป็นอาการกลัวอย่างฉับพลันที่เกิดขึ้นทันที ซึ่งกระตุ้นปฏิกริยาทางร่างกายเมื่อไม่มีอันตรายหรือสาเหตุที่ชัดเจนด้วยซ้ำ อาการแพนิคกระทันหันนั้นอันตรายกว่าที่คิด เมื่ออาการแพนิคเกิดขึ้นคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังสูญเสียการควบคุม อาจมีอาการหัวใจวาย หรือแม้แต่เสียชีวิต
หลายคนอาจเคยมีอาการแพนิคกระทันหันเพียงครั้งเดียว หรือไม่กี่ครั้งในชีวิตของพวกเขาโดยที่ไม่เป็นอันตราย และอาการแพนิคก็หมดไปเมื่อสถานการณ์ตึงเครียดจบลง แต่บางคนอาจยังมีอาการแพนิคซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ โดยไม่คาดคิด และใช้เวลานานกว่าจะหาย
นั่นหมายความว่าคุณกำลังมีอาการที่เรียกว่าโรคแพนิค หรือโรคอาการตื่นตระหนก ถึงแม่ว่าโรคแพนิคจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่มันก็ส่งผลมากอย่างต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของคุณ อย่าเพิ่งรีบแพนิคไปเพราะในปัจจุบันนั้นมีการรักษาอาการแพนิคที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
อาการบ่งชี้ของโรคแพนิค
คุณอาจกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคแพนิคอยู่หรือเปล่า ก่อนที่คุณจะไปเช็คอาการบ่งชี้ของโรคแพนิคนั้น เราอยากให้คุณทำความเข้าใจก่อนว่า โรคแพนิคนี้สามารถเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไรก็ได้ และคาดเดาได้ยาก เพื่อสุขภาพจิตที่ดี และสุขภาพกายแฮปปี้ คุณควรรีบไปโรงพยาบาลหากมีอาการแพนิคแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
อาการแพนิคที่พบบ่อย
- หายใจถี่หรือรู้สึกหายใจไม่ออก
- เจ็บหน้าอก
- ใจสั่น
- เหงื่อออก
- ตัวสั่น
- เวียนหัว
- ปวดกล้ามเนื้อหรือรู้สึกเสียวซ่า
- ท้องเสีย
- อั้นปัสสาวะไม่อยู่
- หูอื้อ
- มองเห็นได้ไม่ชัด
- ปากแห้ง
- ความรู้สึกของการสูญเสียการควบคุม
- ความรู้สึกกลัวตายหรือหมดสติ
- ความรู้สึกกลัวจะเป็นบ้า
- หน้าชา
- ความวิตกกังวลทั่วไป
- กลัวสังคม
- ความนับถือตนเองต่ำ
- มีความกังวลเรื่องสุขภาพ และทำร้ายตัวเอง
จะเห็นได้ว่าอาการแพนิคดังกล่าวนั้นเริ่มจากการวิตกกังวล เมื่อมันถูกกระตุ้นมันจะไปกระทบกับระบบย่อยอาหาร มีอาการหายใจเร็วขึ้น เลือดสูบฉีด ร่างกายหลั่งฮอร์โมน ทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งร่างกายกำลังแสดงให้เห็นว่ากำลังถูกคุกคาม และเมื่อจิตใจของคุณตรวจพบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็จะปลดปล่อยความกลัว จากนั้นความกลัวก็จะให้เกิดอาการต่าง ๆ ต่อไป
ปัจจัยที่กระตุ้นให้อาจเกิดอาการแพนิค
โรคแพนิคสามารถเกิดได้กับทุกคน และมีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าอาการแพนิคนั้นเกิดจากปัจจัยใดกันแน่ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิคแบ่งเป็น
1. สาเหตุทางกาย
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคแพนิค คุณก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพนิคได้เช่นกัน
- ฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลจนเกิดเป็นโรคแพนิคได้
2. สาเหตุทางจิตใจ
- ทำงานกับคอมฯหรือโทรศัพท์นานๆ คุณอาจพักสายตาหรือยืดเส้นยืดสายบ้างทุก ๆ 30 นาทีเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
- เผชิญกับความกดดัน เมื่อรู้ว่าตัวเองอยู่ในภาวะกดดันควรตั้งสติให้ได้ และหายใจลึก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
- อยู่ในสภาวะเร่งรีบ จัดลำดับความสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยลดสภาวะเร่งรีบได้และลดอาการแพนิคได้
- มีอาการเครียดและวิตกกังวล หากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
- ไม่ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
- พักผ่อนไม่เพียงพอ การแบ่งเวลา และการจัดตารางชีวิตให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเหมาะสมสามารถลดอาการแพนิคได้
วิธีรักษาอาการแพนิคกระทันหัน
เราสามารถรักษาโรคแพนิคได้ 2 วิธีคือการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยา
1. การรักษาทางจิตใจ
เป็นวิธีรักษาอาการแพนิคกระทันหันเบื้องต้นด้วยตัวเองโดยปรับความคิดและพฤติกรรม
- ฝึกหายใจ การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ อย่างช้า ๆ จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการแพนิคกระทันหัน
- ฝึกสมาธิ การนั่งสมาธิ 5 นาที ทุกวันนั้นช่วยลดการเกิดโรคแพนิคได้
- ฝึกกล้ามเนื้อ การหากิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงเครียดและปวดศีรษะก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการแพนิคกระทันหันได้อย่างดี
- รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง บางครั้งคุณก็ต้องตั้งสติแล้วบอกกับตัวเองว่า อาการแพนิคกระทันหันมันเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น เดี๋ยวก็หาย
2. การรักษาด้วยยา
เนื่องจากโรคแพนิคเป็นโรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง หากทำการรักษาอาการแพนิคเบื้องตันด้วยตัวเองแล้วยังไม่หาย การรับประทานยาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง
การรักษาอาการแพนิคด้วยยาอาจใช้เวลาในการรักษานานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคแพนิคของแต่ละบุคคล ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคแพนิคนี้สามารถหายขาดเองด้
เมื่อทราบอย่างนี้แล้วเราไม่ควรละเลยโรคแพนิค หรือคิดว่าอาการแพนิคไม่อันตรายจึงปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา แต่คุณรู้ไหมว่าโรคแพนิคนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อีก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เห็นไหมคะว่าเราควรดูแลตัวเองแม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตามค่ะ