Get the App
DOWNLOAD NOW
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
Find a Store Blog
Watsons Services
0
MY BAG
Share

คุณรู้หรือไม่ว่ายิ่งคุณทำ CPR เร็วเท่าไร โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยสามารถป้องกันได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้นช่วยป้องกันการบาดเจ็บสาหัส มีทั้งวิธีห้ามเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมากเกินไป และแม้กระทั่งเสียชีวิต

การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นหลักสูตรช่วยชีวิตที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ วัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การรักษาคน แต่เพื่อดูแลผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุทันที วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือวิธีห้ามเลือดนั้นช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงในขณะที่ผู้ได้รับบาดเจ็บกำลังรอการรักษาพยาบาล

วันนี้เราได้นำวิธีการปฐมพยาบาลและวิธีห้ามเลือดมาฝากผู้อ่านในกรณีที่ท่านต้องประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ก่อนอื่นนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันก่อนว่านอกจากวิธีห้ามเลือดแล้วมีอะไรบ้าง

  • รักษาชีวิต
  • ป้องกันการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
  • ช่วยให้ฟื้นตัวไวขึ้น
  • ลดอาการเจ็บปวด
  • ป้องกันการหมดสติ

5 วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบบเบสิค รู้ไว้มีแต่ได้กับได้

1. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต (CPR)

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต (CPR)
  • หากพบเห็นคนได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ ให้ตบที่ไหล่ของผู้ประสบภัยพร้อมพูดคุยกับเขา หากไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้เรียกรถพยาบาล และตรวจสอบว่ายังหายหรือไม่ใจโดยสังเกตการเคลื่อนไหวบริเวณหน้าอกและท้อง
  • หากการหายใจไม่ปกติให้กดหน้าอก 30 ครั้ง
  • เมื่อกดหน้าอกเสร็จแล้วให้ดันคางขึ้นพร้อมกับกดหน้าผากให้แหงนหน้าขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งแล้วจึงผายปอด 2 ครั้ง
  • หลังจากนั้นใหกดหน้าอก 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง โดยทำซ้ำไปมา
  • หากกลัวว่าจะติดโรคให้กดหน้าอกอย่างเดียวไม่ต้องผายปอด

2. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีแผลไฟลวก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีแผลไฟลวก
  • แช่บริเวณที่ถูกไฟลวกในน้ำมากกว่า 15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิลดลง
  • ไม่พยายามถอดชุดออก หรือเสื้อผ้าที่ในบริเวณที่โดนไฟลวกออก
  • ให้ราดน้ำเบา ๆ จากบนชุด
  • ระมัดระวังอย่าแกะแผลพุพองให้แตก เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

3. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีบาดแผล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีบาดแผล
  • หากมีเลือดออกไม่มากให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
  • ใช้วิธีห้ามเลือดโดยพันแผลด้วยผ้าก๊อซ

4. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีเลือดออก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีเลือดออก
  • หากมีเลือดออกมากให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดปากแผลให้แน่น
  • หากกดแผลแล้วเลือดยังไม่หยุดไหล ให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยกดบริเวณจุดห้ามเลือดที่ใกล้กับหัวใจ

5. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกระดูกหัก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกระดูกหัก
  • ถอดรองเท้าและตัดเสื้อผ้าออก  เพราะอาจมีอาการบวมขึ้นหลังจากกระดูกหัก
  • ใช้หนังสือ กระดาษแข็ง หรือแผ่นไม้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้แทนการใส่เฝือก
  • ให้ผู้ป่วยนอนราบ ไม่พยายามเคลื่อนย้ายจนกว่าหน่วยช่วยเหลือจะมา

นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 อย่างที่เรานำมาฝากแล้วนั้น ยังมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งหากว่าคุณสนใจ คุณก็สามารถศึกษาหรือลงเรียนได้ตามคอร์สเรียน

อย่างวิธีห้ามเลือดก็เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอื่น ๆ ซึ่งเราคิดว่าทุกคนควรเรียนรู้ไว้ในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันกับตัวคุณเองและคนรอบข้าง

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

6 วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ ตัวร้ายทำลายสุขภาพด้วยตัวเอง

7 ประโยชน์ของกาแฟดำ ที่คอกาแฟสายสุขภาพควรรู้

5 วิธีลดน้ำตาลด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ แถมได้สุขภาพ

รวม 8 สรรพคุณของน้ำผึ้ง เคล็ดลับความงามและสุขภาพดี

Previous

5 สาเหตุหลักของอาการตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้

Next

10 ไอเดียแฟชั่นหน้าร้อนสไตล์เกาหลี ลุคฉ่ำ แมชง่าย

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
  10. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  11. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
*/?>