โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

“ฮะ… ฮะ… ฮัดชิ่ว!” ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราก็คงระแวงแค่ว่ามีใครกำลังนินทาเราอยู่ใช่ไหม แต่ทุกวันนี้เรามีเรื่องให้ต้องระแวงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน รวมถึงมลพิษทางอากาศที่รุนแรงและเป็นปัญหาใหญ่อย่าง “ฝุ่น PM2.5” ซึ่งหากเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยนะยิ่งว้าวุ่นเลย วันนี้เราจึงจะมาอธิบายลักษณะอาการแพ้จากฝุ่น PM2.5 เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศและสามารถเล็ดลอดผ่านประตูหน้าต่างเข้ามาในอาคารบ้านเรือนได้ เมื่อสูดหายใจเข้าไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและอาจก่อให้เกิดอาการแพ้สำหรับชาวภูมิแพ้อีกด้วย โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทดังต่อไปนี้

อาการแพ้อากาศจากฝุ่น PM2.5

            อาการแพ้อากาศจากฝุ่น PM2.5 : มีอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก คัดจมูก คันดวงตา น้ำตาไหล ตาแดง ตลอดจนหายใจหอบ หายใจเสียงหวีด หรือบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว

อาการผื่นลมพิษจากฝุ่น PM2.5

อาการผื่นลมพิษจากฝุ่น PM2.5 : มีผื่นแดง ผื่นคัน หรือลมพิษขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวแพ้ง่ายและทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย

นอกจากนี้อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ยังส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกาย อย่างระบบไหลเวียนโลหิตหรือระบบสมองอีกด้วย

จะเห็นว่าฝุ่น PM2.5 นั้นมีขนาดเล็กมากจนเราไม่สามารถหลีกหนีได้ การเลือกใช้ยาแก้แพ้จึงจำเป็นสำหรับผู้มีอาการแพ้อากาศหรืออาการผื่นคันจากฝุ่น PM2.5 โดยปัจจุบันมีการพัฒนายาแก้แพ้  รุ่นใหม่เช่น ยาแก้แพ้ไบแลสทีน (Bilastine) ให้ต่อต้านอาการแพ้ได้ดียิ่งขึ้นและไม่เข้าสมอง เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการแพ้ ไม่ทำให้ง่วงซึม ลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสมองและความจำของผู้รับประทาน และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแก้แพ้รุ่นเก่าอย่าง CPM (Chlorpheniramine)

ดูแลอาการแพ้และเลือกยาแก้แพ้ได้อย่างเหมาะสม ปรึกษาเภสัชกรวัตสันได้ทันทีผ่านช่องทาง  https://watsonsonline.store/n7g3  (@ Watsons_Pharmacist)

ทานยาแก้แพ้รุ่นใหม่กับ PM 2.5

อ้างอิงเนื้อหาจาก

1. โรงพยาบาลพญาไท https://www.phyathai.com/th/article/3430-เมื่อหนีฝุ่น_pm_2_5_ไม่ได้_คว

2. โรงพยาบาลสมิติเวช https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/pm2.5-allergy#section5

3. Kawauchi, H., Yanai, K., Wang, D. Y., Itahashi, K., & Okubo, K. (2019). Antihistamines for allergic rhinitis treatment from the viewpoint of nonsedative properties. International journal of molecular sciences, 20(1), 213.


คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

ผมร่วงเยอะมากเกิดจากอะไรและรักษาอย่างไร

Next

15 ครีมลดรอยแตกลาย ยี่ห้อไหนดี

Related Topics
Share
*/?>