NAC เป็นยาที่มีใช้มาหลายปีแล้ว หลายคนมีไว้ติดบ้านและใช้มันด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่เพื่อบรรเทาและละลายเสมหะในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ อย่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ใช้บรรเทาความผิดปกติทางจิต ไปจนถึงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเล่นกีฬา ในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้ยานี้ ข้อบ่งใช้ ประโยชน์ทางการแพทย์ด้านอื่น ๆ รวมถึงผลข้างเคียงในการใช้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ NAC คือยาอะไร ? ตามมาดูกันเลยค่ะ.
NAC หรือ N-acetylcysteine / N-acetyl-L-cysteine (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) หรือ Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน) เป็นยาอนุพันธ์ของกรดอะมิโนแอลซีสเทอีน (L-Cysteine) ซึ่งเกิดจากการนำกรดอะมิโน Cysteine คือ? มาเติม acetyl group ลงไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถของ NAC ในการละลายไขมันเพื่อการดูดซึมที่ดีขึ้นและมีความเป็นพิษน้อยกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม NAC จึงเป็นที่นิยมมากกว่าอาหารเสริม L-Cysteine แบบเดี่ยว ๆ เมื่อเรารับประทาน NAC เข้าไป ร่างกายจะแปลงเป็นกรดอะมิโน L-Cysteine แล้วร่างกายจะใช้ L-Cysteine เพื่อสร้างหรือสังเคราะห์กลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง (การเสริม NAC สามารถช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้กับร่างกายได้ดีกว่าการรับประทานกลูตาไธโอนเข้าไปโดยตรง) NAC เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและสั่งจ่ายโดยแพทย์ (มิใช่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) โดยมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบเม็ด แคปซูล ยาน้ำเชื่อม แบบผงแห้ง แกรนูลสำหรับผสมก่อนใช้ แบบฉีด และแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ 600 มก. ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด
ข้อบ่งใช้ของ NAC ข้อบ่งใช้สำหรับ NAC ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย คือ ใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวข้นจากโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด สำหรับข้อบ่งใช้โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) คือ การใช้เป็นยาละลายเสมหะและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจของโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) ส่วนการใช้นอกเหนือจากข้อบ่งใช้ คือ การใช้ถอนพิษที่เกิดจากยาพาราเซตามอลและการใช้เพื่อป้องกันภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี ประโยชน์ของ NAC (N-Acetylcysteine) จากการศึกษาเราพบถึงประโยชน์ของ N-Acetylcysteine หรือ NAC ในการช่วยป้องกันและรักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้
1. ช่วยละลายและขับเสมหะ
โดยตัวยาจะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้มูกเหลวตัวและร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น NAC จึงเหมาะกับผู้ป่วยในโรคของระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะอย่างไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ โรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ วัณโรค ช่องคออักเสบ หอบหืด หรือผู้ป่วยที่เจาะคอ ฯลฯ มันออกฤทธิ์อย่างไร?
2. จำเป็นต่อการสร้างกลูตาไธโอน
กล่าวคือ NAC เป็นสารตั้งต้นในการผลิต L-Cysteine ให้กับร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์กลูตาไธโอน โดยกลูตาไธโอนนั้นเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในร่างกายของคุณ เป็นสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย กำจัดสารพิษ จำเป็นต่อสุขภาพภูมิคุ้มกันและสู้กับความเสียหายของเซลล์ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ NAC อาจช่วยรักษารักษาผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ และนักวิจัยบางคนเชื่อว่ากลูตาไธโอนอาจช่วยให้อายุยืนขึ้น
3. ต้านสารอนุมูลอิสระ/เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
จากความสามารถของ NAC ในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน (สารต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน) จึงช่วยปรับปรุงทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ ได้ โดยมีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสริม NAC อาจช่วยปรับปรุงและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้ม การเสริม NAC ในผู้ติดเชื้อ HIV ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องช่วยเพิ่ม Cysteine ให้กับร่างกายและการทำงานของภูมิคุ้มกันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ระดับ NAC ในร่างกายที่สูงขึ้นอาจช่วยยับยั้งเชื้อ HIV-1 เป็นต้น
4. ต้านเชื้อไวรัส NAC มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสต่าง ๆ
อย่างไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) รายละเอียด และโควิด-19 (COVID-19) รายละเอียด โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่การให้ NAC ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดในผู้ป่วยปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง หลังได้รับยา 3 วัน ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น ใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลง และมีอัตราการเสียชีวิตลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการทดลองให้ NAC ชนิดฉีดร่วมกับยาต้านไวรัสและยาชนิดอื่นในผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) จากไข้หวัดใหญ่ แล้วพบว่าภาวะและปอดของผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
5. ต้านการอักเสบ
เนื่องจาก NAC มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในระบบทางเดินหายใจที่พิสูจน์ได้จากหลายงานวิจัย เช่น การศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ปอดมีการอักเสบจากอนุมูลอิสระจากการสูบบุหรี่ รายละเอียด
6. บรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ
เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รายละเอียด, โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) รายละเอียด, โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) โรคหอบหืด โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis), โรคพังพืดที่ปอด (Interstitial lung disease) อย่างเช่นพังผืดที่ปอดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic pulmonary fibrosis) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เนื่องจาก NAC มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ (เพิ่มระดับกลูตาไธโอนและลดการอักเสบในหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด) รวมถึงความสามารถในการขับเสมหะของ NAC จึงทำให้อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ มีอาการน้อยลง สมรรถภาพปอดดีขึ้น และลดการกำเริบของโรคได้
7. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea: OSA)
โดยพบว่า NAC สามารถช่วยเพิ่มอัตราการหลับลึก เพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ ลดโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจ ฯลฯ ในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ได้
8. อาจดีต่อสุขภาพสมอง
การทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ พบว่า NAC อาจช่วยให้การรู้คิดหรือการเรียนรู้ของมนุษย์ดีขึ้น โดยอาจเกิดจากการที่ NAC ช่วยเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนให้กับร่างกาย (กลูตาไธโอนช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระของเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอายุ) และช่วยควบคุมระดับกลูตาเมต คือ? ด้วยเหตุนี้ การเสริม NAC จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทและสมองบางอย่าง เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)รายละเอียด และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) รายละเอียด แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
9. อาจปรับปรุงสภาพสุขภาพจิตและการติดสารเสพติด
เนื่องจาก NAC ช่วยควบคุมระดับกลูตาเมตซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญที่สุดในสมอง (ระดับกลูตาเมตที่มากเกินไปพร้อมกับการลดลงของกลูตาไธโอนในร่างกายอาจส่งผลต่อสมองและนำไปสู่ปัญหาภาวะสุขภาพทางจิตต่าง ๆ ได้ ตัวอย่าง) โดยแพทย์อาจนำ NAC มาใช้เป็นการรักษาเสริมในโรคซึมเศร้า รายละเอียด, โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) รายละเอียด, ใช้ลดผลกระทบของโรคจิตเภท รายละเอียด, โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) พฤติกรรมชอบกัดเล็บ (Nail biting) และนำมาใช้ลดสิ่งเสพติดและสารเสพติด (เช่น ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ลดการติดโคเคน กัญชา นิโคติน รวมถึงการติดการพนัน
10. อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็ง
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็งและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง รายละเอียด, ป้องกัน DNA จากการทำลายของรังสีในระหว่างการรักษามะเร็ง ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคมะเร็งบางอย่าง (เช่น ความเป็นพิษต่อตับ ระบบประสาท เยื่อเมือกอักเสบ หรือการทำงานของเม็ดเลือดไม่ดี
11. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
NAC อาจช่วยลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อหัวใจที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และอาการร้ายแรงอื่น ๆ
12. อาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่
การศึกษาพบว่า NAC อาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินและบรรเทาภาวะดื้อต่ออินซูลิน เนื่องจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านการตายของเซลล์ จึงอาจใช้เสริมการรักษาในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
13. ช่วยในการเจริญพันธุ์
จากข้อมูลเราพบว่า NAC อาจช่วยในการเจริญพันธุ์ในเพศชายได้โดยการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เป็นตัวทำลายหรือฆ่าเซลล์สืบพันธุ์ และยังอาจช่วยให้เกิดภาวะเจริญพันธุ์ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เรื่องที่เกี่ยวข้อง : สรุปประโยชน์ของซีลีเนียม (Selenium) จากงานวิจัย !
14. ลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
สำหรับสตรีที่เคยคลอดก่อนกำหนดและมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
15. ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (Sudden sensorineural hearing loss : SSHL)
การศึกษาพบว่า NAC ช่วยให้ผู้ป่วยมีระดับการได้ยินดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน
16. ประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน (Noise-induced hearing loss: NIHL)
เสียงที่ดังสามารถสร้างอนุมูลอิสระมาทำลายเซลล์ประสาทหูชั้นในได้ ทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในหูชั้นใน และสารกลูตาไธโอนลดลง กระตุ้นให้เซลล์ประสาทหูชั้นในตาย ซึ่ง NAC สามารถป้องกันหรือรักษาภาวะนี้ได้โดยการให้สารตั้งต้น Cysteine ในการผลิตกลูตาไธโอน กำจัดอนุมูลอิสระ และยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทหูชั้นใน
17. ประสาทหูเสื่อมจากการใช้ยาที่เป็นพิษต่อประสาทหู
เช่น ยาต้านจุลชีพกลุ่ม Aminoglycoside ที่เมื่อใช้ NAC ร่วมด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดประสาทหูเสื่อมจากยานี้ได้ 80%
18. ล้างพิษเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายของตับและไต
NAC สามารถช่วยกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระได้โดยการเปลี่ยนสารพิษและอนุมูลอิสระให้เป็นน้ำ และโดยการเป็นสารตั้งต้นของกลูตาไธโอนที่เป็นตัวช่วยปกป้องเซลล์ กำจัดสารพิษ และอนุมูลอิสระหลายทั้งที่เกิดภายในร่างกาย (เช่น ของเสียที่เกิดจากกระบวนเมตาบอลิซึมของเซลล์) และภายนอกร่างกาย (เช่น มลพิษ ฝุ่น ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาบางชนิด สารปรอท และด้วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ NAC จึงอาจมีประโยชน์สำหรับโรคตับอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะพิษต่อตับจากแอลกอฮอล์ ภาวะพิษต่อตับจากการกินยาพาราเกินขนาดภาวะพิษต่อตับจากการใช้ยาบางชนิด ภาวะไตวายเนื่องจากการฉีดสารทึบรังสี (Contrast media)
19. เสริมฤทธิ์การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori)
ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะอาหารอักเสบ
20. อาจเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬา
การศึกษาในนักไตรกีฬาพบว่า การรับประทาน NAC สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปั่นจักรยานของนักกีฬาที่อยู่ระหว่างการฝึกซ้อมอย่างหนักได้ เพราะ? ข้อควรระวังในการใช้ NAC ไม่ควรใช้ยานี้เด็กที่อายุน้อยกว่า 14 ปี ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ควรระมัดระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยานี้อาจทำให้เกิดการระคายเคือง มีผลต่อแผล และกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียน อย่างไรก็ตาม หากเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว แนะนำให้ทาน NAC หลังอาหาร หรือหลีกเลี่ยงช่วงเวลากำเริบ หรือให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้ ในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือมีประวัติเป็นโรคนี้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อมีอาการหลอดลมบีบเกร็งให้หยุดใช้ยานี้ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ Acetylcysteine ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ซื้อ NAC จากร้านขายยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงความจำเป็นในการเสมอเพื่อความปลอดภัย และหากใช้ NAC แล้วยังไม่ได้ผลในการรักษา หรืออาการที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ตรงจุดต่อไป ขนาดและวิธีใช้ NAC ด้วย NAC มีหลายรูปแบบและมีคำแนะนำในการใช้ยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละสาเหตุ ก่อนใช้ NAC คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เสมอถึงประโยชน์ ความจำเป็นในการใช้ ทางเลือกอื่น ๆ และขนาดการใช้ยาที่แน่นอน โดยตัวอย่างขนาดการใช้ NAC ในแต่ละโรคนั้นมีดังนี้ ละลายเสมหะ (ในโรคระบบทางเดินหายใจทั่วไป) : สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปให้ใช้ NAC ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ (ขนาด 600 มก./เม็ด) ครั้งละ 1 เม็ด ละลายในน้ำเปล่าครึ่งแก้ว (สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร) หรือขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ ไข้หวัดใหญ่ / โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง / ประสาทหูเสื่อม / ป้องกันพิษต่อตับจากยารักษาวัณโรค : NAC 600 มก. วันละ 2 ครั้ง (1,200 มก./วัน) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ : NAC 600 มก. วันละ 3 ครั้ง (1,800 มก./วัน) ถอนพิษจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด : ทั้ง NAC แบบรับประทานและแบบฉีดเข้าเส้นเลือด แพทย์จะเป็นผู้บริหารขนาดยาที่ใช้เอง แต่จำเป็นต้องได้รับภายใน 8 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาพาราเกินขนาด ภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี : ในครั้งแรกแพทย์จะให้ NAC กับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดก่อนการฉีดสารทึบรังสี 12 ชั่วโมง (ในขนาด NAC 600-1,200 มก.) ส่วนในครั้งที่ 2-5 จะให้ NAC ขนาด 600-1,200 มก. หลังจากครั้งแรก ทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง วิธีการใช้ : การใช้ NAC ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ให้ละลายลงในน้ำเปล่าปริมาตรประมาณครึ่งแก้ว แล้วรอให้เม็ดยาละลายจนหมดก่อนรับประทาน เพื่อลดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารและลดกลิ่นฉุน (หากกังวลเรื่องรสชาติ อาจเลือกยี่ห้อที่มีรสชาติที่ดีได้) ยาที่ควรระวังเมื่อทานร่วมกับ NAC ยาปฏีชวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline) ควรรับประทานให้ห่างจาก NAC อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) และยาอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่ม Nitrates เพราะ NAC อาจเสริมฤทธิ์ของยาดังกล่าวให้เข้มข้นขึ้น จนทำให้ความดันโลหิตต่ำมาก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้ ยาผงถ่านหรือถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) เพราะจะลดการดูดซึมของ NAC ยาอื่น ๆ เช่น ยารักษาเบาหวาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์เสมอ ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาบางชนิด เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือเกิดอันตรายได้ เช่น ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรต ยากันชัก Carbamazepine เป็นต้น ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์หากคุณใช้ยาใด ๆ อยู่ NAC เม็ดฟู่ละลายเสมหะ NAC เม็ดฟู่เป็นผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนประกอบของสาร Acetylcysteine ขนาด 600 มิลลิกรัม เป็นรูปแบบเม็ดฟองฟู่ใช้ละลายกับน้ำดื่ม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยหลัก ๆ แล้วใช้เพื่อช่วยละลายและขับเสมหะจากโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ฯลฯ รวมไปถึงจากปัญหามลพิษฝุ่นควันต่าง ๆ อย่างฝุ่นละออง PM 2.5 (ที่อาจทำให้ร่างกายเสมหะขึ้นมาได้มากกว่าปกติและอาจทำให้เกิดอาการไอระคายคอตามมาได้) ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของ NAC เช่น การต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ กำจัดหรือล้างสารพิษต่าง ๆ ในร่างกาย ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ NAC จึงเหมาะเป็นหนึ่งในไอเทมแนะนำเพื่อเสริมการรักษาควบคู่ไปกับการรักษาปกติ สำหรับสาเหตุของการเกิดเสมหะหรือเสลดนั้น นอกจากจะเกิดได้จากเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียอย่างที่เราเข้าใจกันแล้ว สิ่งแปลกหรือปัญหามลพิษฝุ่นควันต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมบางอย่างเช่น การรับประทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่บ่อย ฯลฯ ก็อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งเสมหะออกมาเคลือบในลำคอได้เช่นกัน และเมื่อหลั่งออกมามากก็จะมีความเหนียว ติดคอ ระคายเคืองคอ และสร้างความรำคาญได้ ส่วนคำแนะนำทั่วไปก็คือการดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ วันละ 8-10 แก้ว ใช้น้ำเกลือกลั้วคอ งดอาหารบางประเภท (เช่น ของทอด กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และสูบบุหรี่) ทานยาแก้ไอ และ/หรือร่วมไปกับทาน NAC (N-Acetylcysteine) เม็ดฟู่ละลายเสมหะครับ
ในการใช้ “แนค N-Acetylcysteine เม็ดฟู่ละลายเสมหะ” นั้น เมื่อเริ่มรู้สึกระคายคอหรือเริ่มมีเสมหะใส ๆ ก็สามารถใช้ได้ทันที ไม่ต้องให้รออาการแย่ลง (ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์โดยตรงต่อโครงสร้างเสมหะ มีประสิทธิภาพในการทำลายและยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันของเชื้อแบคทีเรีย (จึงมีผลช่วยลดการมีชีวิตของเชื้อ) รวมทั้งยังช่วยลดการเกาะติดเชื้อแบคทีเรียกับเซลล์เยื่อบุชั้นผิวของทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการทำงานของขนกวัดในการกำจัดเสมหะ กระตุ้นปอด/กระเพาะอาหาร ทำให้เสมหะถูกขับออกจากหลอดลมและปอดได้มากขึ้น (ถ้าร่างกายมีเสมหะมากเกินไปหรือขนกวัดทำงานได้ไม่ดีก็จะทำให้เสมหะอุดตัน หายใจติดขัด และอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายลงปอด ถุงลม และเป็นที่มาของเชื้อลงปอดนั่นเอง) ส่วน NAC เม็ดฟู่ละลายเสมหะยี่ห้อที่หมอหรือเภสัชกรมักจะแนะนำก็เป็นของแบรนด์เยอรมัน (ขนาด 600 มก./เม็ด) เพราะเม็ดฟู่ละลายตัวได้เร็ว ละลายแล้วใสไม่ขุ่นไม่เป็นก้อน ทานง่ายรสจะออกเปรี้ยว ๆ คล้ายรสส้ม (ตรงนี้แล้วแต่คนครับ บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ) พกพาได้สะดวก เพราะหลอดยามีขนาดเล็กมาก (ยา 1 หลอด มี 10 เม็ดฟู่) แต่ข้อเสียก็คือราคาต่อหลอดอาจจะแพงไปหน่อยครับ
งานวิจัยและเอกสารอ้างอิง
- Free Radical Biology and Medicine. “S-linolenoyl glutathione intake extends life-span and stress resistance via Sir-2.1 upregulation in Caenorhabditis elegans”. (2014)
- Frontiers in Immunology. “Glutathione Fine-Tunes the Innate Immune Response toward Antiviral Pathways in a Macrophage Cell Line Independently of Its Antioxidant Properties”. (2017)
- Nutrients. “Immunomodulatory Effects of Glutathione, Garlic Derivatives, and Hydrogen Sulfide”. (2019)
- Immunology Today. “HIV-induced cysteine deficiency and T-cell dysfunction–a rationale for treatment with N-acetylcysteine”. (1992)
- AIDS. “Glutathione depletion in HIV-infected patients: role of cysteine deficiency and effect of oral N-acetylcysteine”. (1992)
- Virus Research. “Influence of glutathione availability on cell damage induced by human immunodeficiency virus type 1 viral protein R”. (2016)
- European Respiratory Journal. “Attenuation of influenza-like symptomatology and improvement of cell-mediated immunity with long-term N-acetylcysteine treatment”. (1997)
- Biochemical Pharmacology. “N-acetyl-L-cysteine (NAC) inhibits virus replication and expression of pro-inflammatory molecules in A549 cells infected with highly pathogenic H5N1 influenza A virus”. (2010)
- Therapeutics and Clinical Risk Management. “N-Acetylcysteine to Combat COVID-19: An Evidence Review”. (2020)
- European Respiratory Journal. “The effect of oral N-acetylcysteine in chronic bronchitis: a quantitative systematic review”. (2000)
- Multidisciplinary Respiratory Medicine. “N-acetylcysteine in COPD: why, how, and when?”. (2016)
- Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
- Journal of Cystic Fibrosis. “Long-term treatment with oral N-acetylcysteine: affects lung function but not sputum inflammation in cystic fibrosis subjects. A phase II randomized placebo-controlled trial”. (2015)
- Pharmacological Research. “Effectiveness of oral N -acetylcysteine in a rat experimental model of asthma”. (2002)
- Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
- The Indian Journal of Chest Diseases and Allied Sciences. “Anti-oxidant treatment in obstructive sleep apnoea syndrome”. (2011)
- Neuroscience & Biobehavioral Reviews. “The effect of N-acetylcysteine (NAC) on human cognition – A systematic review”. (2017)
- Chemico-Biological Interactions. “N-acetylcysteine protects memory decline induced by streptozotocin in mice”. (2016)
- Cell Journal. “A Review on Various Uses of N-Acetyl Cysteine”. (2017)
- Journal of Clinical Psychiatry. “N-Acetylcysteine in depressive symptoms and functionality: a systematic review and meta-analysis”. (2016)
- Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. “N-acetylcysteine augmentation therapy for moderate-to-severe obsessive-compulsive disorder: randomized, double-blind, placebo-controlled trial”. (2016)
- Journal of Child and Adolescent Psychopharmacology. “N-acetylcysteine (NAC) for Pediatric Obsessive-Compulsive Disorder”. (2019)
- Translational Psychiatry. “Synaptic and cellular changes induced by the schizophrenia susceptibility gene G72 are rescued by N-acetylcysteine treatment”. (2016)
- Archives Of General Psychiatry. “N-acetylcysteine, a glutamate modulator, in the treatment of trichotillomania: a double-blind, placebo-controlled study”. (2009)
- International Journal of Trichology. “N-acetylcysteine in the Treatment of Trichotillomania”. (2012)
- The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology. “The Potential Uses of N-acetylcysteine in Dermatology: A Review”. (2019)
- Drug and Alcohol Dependence. “The Effect of N-Acetylcysteine on Alcohol Use during a Cannabis Cessation Trial”. (2018)
- Neuropsychopharmacology. “N-Acetylcysteine Normalizes Glutamate Levels in Cocaine-Dependent Patients: A Randomized Crossover Magnetic Resonance Spectroscopy Study”. (2012)
- American Journal on Addictions. “N-Acetylcysteine (NAC) in Young Marijuana Users: An Open-Label Pilot Study”. (2010)
- Biological Psychiatry. “The Role of Cystine-Glutamate Exchange in Nicotine Dependence in Rats and Humans”. (2010)
- Journal of Clinical Psychiatry. “A randomized, placebo-controlled trial of N-acetylcysteine plus imaginal desensitization for nicotine-dependent pathological gamblers”. (2014)
- Molecular Carcinogenesis. “N-acetyl cysteine and penicillamine induce apoptosis via the ER stress response-signaling pathway”. (2010)
- European Journal of Gastroenterology & Hepatology. “N-acetyl cysteine inhibits human signet ring cell gastric cancer cell line (SJ-89) cell growth by inducing apoptosis and DNA synthesis arrest”. (2007)
- Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention. “Effects of oral administration of N-acetyl-L-cysteine: a multi-biomarker study in smokers”. (2002)
- Journal of the National Cancer Institute. “EUROSCAN, a randomized trial of vitamin A and N-acetylcysteine in patients with head and neck cancer or lung cancer. For the EUropean Organization for Research and Treatment of Cancer Head and Neck and Lung Cancer Cooperative Groups”. (2000)
- Science Translational Medicine. “Antioxidants accelerate lung cancer progression in mice”. (2014)
- Mutation Research/Genetic Toxicology and Environmental Mutagenesis. “N-acetyl cysteine protects against ionizing radiation-induced DNA damage but not against cell killing in yeast and mammals”. (2009)
- Advances in Hematology. “Vitamin e and N-acetylcysteine as antioxidant adjuvant therapy in children with acute lymphoblastic leukemia”. (2009)
- Supportive Care in Cancer. “N-acetylcysteine has neuroprotective effects against oxaliplatin-based adjuvant chemotherapy in colon cancer patients: preliminary data”. (2006)
- Bone marrow transplant. “N-acetyl cysteine for prevention of oral mucositis in hematopoietic SCT: a double-blind, randomized, placebo-controlled trial”. (2014)
- Mayo Clinic Proceedings. “N-Acetylcysteine Rinse for Thick Secretion and Mucositis of Head and Neck Chemoradiotherapy (Alliance MC13C2): A Double-Blind Randomized Clinical Trial”. (2019)
- BMC Medicine. “Prophylactic NAC promoted hematopoietic reconstitution by improving endothelial cells after haploidentical HSCT: a phase 3, open-label randomized trial”. (2022)
- 40.BMC Cardiovascular Disorders. “N-Acetyl Cysteine improves the diabetic cardiac function: possible role of fibrosis inhibition”. (2015)
- European Journal of Clinical Investigation. “N-acetyl-L-cysteine exerts direct anti-aggregating effect on human platelets”. (2001)
- European Journal of Pharmacology. “Green tea polyphenols inhibit human vascular smooth muscle cell proliferation stimulated by native low-density lipoprotein”. (2002)
- Clinical Biochemistry. “A review on the possible molecular mechanism of action of N-acetylcysteine against insulin resistance and type-2 diabetes development”. (2015)
- The Journal of Urology. “Efficacy of selenium and/or N-acetyl-cysteine for improving semen parameters in infertile men: a double-blind, placebo controlled, randomized study”. (2009)
- International Journal of Fertility and Sterility. “A Preliminary Study: N-acetyl-L-cysteine Improves Semen Quality following Varicocelectomy”. (2016)
- Obstetrics and Gynecology International. “N-Acetylcysteine for Polycystic Ovary Syndrome: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Clinical Trials”. (2015)
- Journal of Gynecology Obstetrics and Human Reproduction. “Comparison of metformin and N-acetyl cysteine, as an adjuvant to clomiphene citrate, in clomiphene-resistant women with polycystic ovary syndrome”. (2017)
- Fertility and Sterility. “N-acetyl-cysteine is a novel adjuvant to clomiphene citrate in clomiphene citrate–resistant patients with polycystic ovary syndrome”. (2015)
- International Journal of Gynecology & Obstetrics. “Effect of oral N-acetyl cysteine on recurrent preterm labor following treatment for bacterial vaginosis”. (2009)
- Acta Oto-Laryngologica. “N-acetylcysteine as a single therapy for sudden deafness”. (2017)
- Hearing Research. “N-Acetyl-cysteine against noise-induced temporary threshold shift in male workers”. (2010)
- Noise Health. “The efficacy of N-acetylcysteine to protect the human cochlea from subclinical hearing loss caused by impulse noise: a controlled trial”. (2011)
- Thorax. “A systematic review and meta-analysis of the efficacy and safety of N-acetylcysteine in preventing aminoglycoside-induced ototoxicity: implications for the treatment of multidrug-resistant TB”. (2015)
- Environmental Health Perspectives. “N-acetylcysteine as a potential antidote and biomonitoring agent of methylmercury exposure”. (2008)
- International Journal of Molecular Sciences. “Oxidative Stress and Inflammation in Hepatic Diseases: Therapeutic Possibilities of N-Acetylcysteine”. (2015)
- The New England Journal of Medicine. “Glucocorticoids plus N-acetylcysteine in severe alcoholic hepatitis”. (2011)
- European Journal of Gastroenterology & Hepatology. “Protective effect of N-acetylcysteine on antituberculosis drug-induced hepatotoxicity”. (2010)
- Journal of the American Heart Association. “Effectiveness of N-Acetylcysteine for the Prevention of Contrast-Induced Nephropathy: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials”. (2016)
- SN Comprehensive Clinical Medicine. “The Effect of N-Acetylcysteine on the Treatment of Persistent Helicobacter pylori Infection”. (2021)
- Medicine & Science in Sports & Exercise. “Effect of N-acetylcysteine on cycling performance after intensified training”. (2014)
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/nac/ | Medthai
คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ
- 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
- เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
- 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
- รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร