โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

ความเครียด การพักผ่อน รวมถึงความเร่งรีบในการใช้ชีวิตประจำวันนั้นล้วนส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายทั้งสิ้น รวมไปถึง ‘อาหาร’ ที่ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญอันส่งผลต่อสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

ซึ่งในปัจจุบันแม้จะมีอาหารให้เลือกรับประทานได้หลากหลายมากขึ้น แต่ด้วยความจำกัดในด้านเวลาก็อาจจะทำให้เราเลือกทานอาหารที่คุณค่าอาหารน้อย และทำลายสุขภาพด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันตัวร้ายอย่าง ‘ไตรกลีเซอร์ไรด์’ มากขึ้น

วัตสัน’ เลยขอชวนทุกคนมาทำความรู้จักไขมันร้ายตัวนี้ให้มากขึ้น รวมไปถึงสารพัดวิธีช่วยลดไตรกลีเซอไรด์เพื่อให้สุขภาพของเราแข็งแรงได้มากยิ่งขึ้น

รู้จัก ‘ไตรกลีเซอไรด์’ ไขมันตัวร้ายทำลายสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์มาจากการทานน้ำมัน ไขมันสัตว์ หรือเนย

ก่อนจะไปถึงวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์ หรือเมนูอาหารลดไตรกลีเซอไรด์นั้น ‘วัตสัน’ อยากจะพาไปรู้จักเจ้าไขมันตัวร้ายนี้กันก่อนว่ามันคืออะไร

‘ไตรกลีเซอไรด์’ เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากตับ หรืออาจจะรับเข้าโดยตรงผ่านการทานไขมันเข้าไปอย่างเช่น น้ำมัน ไขมันสัตว์ หรือเนย ซึ่งถ้าหากมากเกินไปไขมันที่ได้รับเข้าจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์สะสม

ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุหลักของโรคร้ายแรงทั้งโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคตับอ่อนอักเสบ โรคไขมันเกาะตับ โรคอ้วน ไปจนถึงโรคมะเร็งได้เช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่า ‘ไตรกลีเซอไรด์’ สูง

ตรวจเช็กไขมันในเลือดเพื่อหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

หากเราไม่รีบหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันร้ายตัวนี้ในร่างกายลง ก็อาจจะทำให้สุขภาพนั้นแย่มากขึ้น และไขมันร้ายตัวนี้ก็อาจจะไม่ได้ส่อเค้าอาการจนทำให้หลาย ๆ คนตายใจ จนไม่ได้มองหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์อย่างจริงจัง

ดังนั้นทุกครั้งที่ไปตรวจสุขภาพอย่างลืมตรวจเช็กไขมันในเลือด และดูว่าไขมันมากแค่ไหน และถึงเกณฑ์อันตรายที่ต้องมองหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์หรือยัง โดยเทียบง่าย ๆ ได้ดังนี้

  • ระดับไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับปกติ
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ 150‒199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับกลาง ควรเฝ้าระวัง
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ 200‒499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูง
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หมายถึง ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูงมาก

วิธีลด ‘ไตรกลีเซอไรด์’ เพื่อสุขภาพดี

1. ลดน้ำตาล

ลดน้ำตาลเป็นวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

อาจจะสงสัยว่าไตรกลีเซอไรด์คือไขมัน แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับ ‘น้ำตาล’ แต่วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ที่เราอยากแนะนำ และคิดว่าทำได้ง่าย ทำได้ทันที

นั่นก็คือการลดปริมาณน้ำตาลในอาหารลง เพราะน้ำตาลก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งยังเข้าไปสะสมในร่างกายจนอาจจะทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ตามมาได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งวิธีลดไตรกลีเซอไรด์นี้ก็ยังทำได้ง่าย เพียงแค่ลดน้ำตาลเพียงเท่านั้น

2. เลือกไขมันดี

เลือกไขมันดีหนึ่งในวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

ไม่ใช่ไขมันทุกชนิดจะเป็นศัตรูตัวร้ายของร่างกายทั้งหมด เพราะในความเป็นจริงแล้วร่างกายก็ยังคงต้องการไขมันเพื่อไปใช้ประโยชน์ แต่ถ้าต้องการมองหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์ก็อาจจะต้องเลือกกินไขมันที่ดี มีประโยชน์ และร่างกายนำไปใช้ได้โดยไม่สะสมจนเป็นไตรกลีเซอไรด์

อย่างเช่นไขมันตามธรรมชาติที่ไม่ใช่ไขมันเชิงซ้อน อย่างเช่นไขมันจากปลา ไขมันจากพืชต่าง ๆ แต่ทั้งนี้อย่าลืมตั้งอยู่บนวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์ นั่นก็คือทานแต่พอเหมาะ

3. เสริมไฟเบอร์ให้ร่างกาย

เสริมไฟเบอร์ให้ร่างกายเป็นอีกวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

นอกจากคุณประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว ‘ไฟเบอร์’ ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้เป็นอย่างดี เพราะตัวไฟเบอร์จะไปดักจับเอาไขมันส่วนเกินที่ร่างกายได้รับมากดูดซึมไว้กับตัวและนำพาให้ออกมาผ่านการขับถ่าย

ดังนั้นถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจะเริ่มวิธีลดไตรกลีเซอไรด์อย่างไรที่ไม่ต้องเลือกกินจนไม่แฮปปี้ การทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงเข้าไปก็อาจจะช่วยคุณได้

4. เลี่ยงแอลกอฮอล์

เลี่ยงแอลกอฮอล์คือวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

คงไม่ผิดนักที่คุณจะดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการเข้าสังคมแบบพอประมาณ หรือดื่มเพื่อสุขภาพเพียงวันละ 1-2 แก้ว แต่ถ้าคุณดื่มมากกว่านั้น ถี่กว่านั้น ‘แอลกอฮอล์’ ก็จะส่งผลเสียให้กับร่างกายของคุณแน่นอน

เพราะมันจะเป็นตัวไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างไตรกลีเซอไรด์ได้มากขึ้น หากคุณกำลังมองหาวิธีลดไตรกลีเซอไรด์เพื่อสุขภาพที่ดี ก็อาจจะต้องลองลด ละ เลิก แอลกฮอล์กันดูซักหน่อย

5. ออกกำลังกายให้บ่อย

ออกกำลังกายให้บ่อยเป็นหนึ่งในวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

นอกจากการเลือกทานอาหารให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นจะเป็นวิธีลดไตรกลีเซอไรด์ที่เวิร์คแล้ว อีกวิธีที่ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ที่อยากจะแนะนำให้ทำควบคู่กันไปนั่นก็คือการออกกำลังกายเพื่อดึงไขมันสะสมในร่างกาย รวมไปถึงตัวไตรกลีเซอไรด์ นำออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์ด้วยการออกกำลังกายนั้น แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โดยอาจจะเริ่มที่สัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ถ้าจะได้ผลในวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์มากที่สุดก็คือ 5 ครั้งต่อสัปดาห์

6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นอีกวิธีลดไตรกลีเซอไรด์

อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่าการที่เรามีไตรกลีเซอไรด์สะสม ร่างกายก็อาจะจไม่ได้แสดงอาการอะไรชัดเจนจนกระทั่งอาจจะสายเกินแก้แล้ว ดังนั้นวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์ที่ดี ก็คือการป้องกัน และตรวจก่อนสายเกินแก้

‘วัตสัน’ แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อ recheck ร่างกายว่ามีไขมันมากเกินไปหรือไม่ เพื่อที่เราจะได้ป้องกัน และดูแลตัวเองได้อย่างทันท่วงที ถือว่าเป็นวิธีการลดไตรกลีเซอไรด์ที่ควรต้องทำเป็นอย่างยิ่ง

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเองนะคะ ดังนั้นใครที่ยังมีพฤติกรรมการรับประทาน และไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อการสะสมไตรกลีเซอไรด์สู่ร่างกายก็ขอให้ลด ละ เลิก โดยนำวิธีลดไตรกลีเซอไรด์อย่างง่าย ๆที่ ‘วัตสัน’ แนะนำกันในครั้งนี้ รับรองว่าสุขภาพดี ชีวิตยืนยาวแน่นอน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทางเลือกใหม่ของชาวVegan สกินแคร์ปลอดสารพิษ คือคำตอบ

6 ประโยชน์ของมะเขือเทศที่มากกว่าช่วยผิวสวย พร้อมเมนูจากสรรพคุณมะเขือเทศ

เปิดคัมภีร์ลด – แก้อาการนอนกรน นอนกับใครที่ไหนก็หายห่วง

Health Hub : 6 อาหารลดอาการปวดท้องประจำเดือน

คีโตคือ อะไร พร้อมไขข้อสงสัยชาวคีโตกินอะไรได้บ้าง

Previous

ทางเลือกใหม่ของชาวVegan สกินแคร์ปลอดสารพิษ คือคำตอบ

Next

5 วิธีรักษาอาการกรดไหลย้อนขึ้นคอ และหายใจไม่สะดวก

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
  10. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  11. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
*/?>