โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

“นี่แกแพนิคหรือเปล่า?” คำพูดติดปากของใครหลาย ๆ คนที่มักจะเกิดเวลาที่รู้สึกว่าคนรอบข้างมีอาการกลัว ตกใจ หรือแสดงอาการตื่นตระหนก แต่คุณรู้ไหมว่า คำว่าแพนิคนั้นแท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ มันอันตรายจริง ๆ หรอ ไม่ต้องกังวลใจไป

ในบทความนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบเกี่ยวกับโรคแพนิค พร้อมวิธีสยบอาการแพนิคเบื้องต้น เพราะพวกเราทุกคนต้องมีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาพกายแฮปปี้

โรคแพนิค

โรคแพนิคเป็นอาการกลัวอย่างฉับพลันที่เกิดขึ้นทันที

โดยรวมแล้วโรคแพนิคหรือโรคอาการตื่นตระหนก เป็นอาการกลัวอย่างฉับพลันที่เกิดขึ้นทันที ซึ่งกระตุ้นปฏิกริยาทางร่างกายเมื่อไม่มีอันตรายหรือสาเหตุที่ชัดเจนด้วยซ้ำ อาการแพนิคกระทันหันนั้นอันตรายกว่าที่คิด เมื่ออาการแพนิคเกิดขึ้นคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังสูญเสียการควบคุม อาจมีอาการหัวใจวาย หรือแม้แต่เสียชีวิต

หลายคนอาจเคยมีอาการแพนิคกระทันหันเพียงครั้งเดียว หรือไม่กี่ครั้งในชีวิตของพวกเขาโดยที่ไม่เป็นอันตราย และอาการแพนิคก็หมดไปเมื่อสถานการณ์ตึงเครียดจบลง แต่บางคนอาจยังมีอาการแพนิคซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ โดยไม่คาดคิด และใช้เวลานานกว่าจะหาย

นั่นหมายความว่าคุณกำลังมีอาการที่เรียกว่าโรคแพนิค หรือโรคอาการตื่นตระหนก ถึงแม่ว่าโรคแพนิคจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่มันก็ส่งผลมากอย่างต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของคุณ อย่าเพิ่งรีบแพนิคไปเพราะในปัจจุบันนั้นมีการรักษาอาการแพนิคที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

อาการบ่งชี้ของโรคแพนิค

คุณอาจกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคแพนิคอยู่หรือเปล่า ก่อนที่คุณจะไปเช็คอาการบ่งชี้ของโรคแพนิคนั้น เราอยากให้คุณทำความเข้าใจก่อนว่า โรคแพนิคนี้สามารถเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไรก็ได้ และคาดเดาได้ยาก เพื่อสุขภาพจิตที่ดี และสุขภาพกายแฮปปี้ คุณควรรีบไปโรงพยาบาลหากมีอาการแพนิคแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

อาการแพนิคที่พบบ่อย

  • หายใจถี่หรือรู้สึกหายใจไม่ออก
  • เจ็บหน้าอก
  • ใจสั่น
  • เหงื่อออก
  • ตัวสั่น
  • เวียนหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือรู้สึกเสียวซ่า
  • ท้องเสีย
  • อั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • หูอื้อ
  • มองเห็นได้ไม่ชัด
  • ปากแห้ง
  • ความรู้สึกของการสูญเสียการควบคุม
  • ความรู้สึกกลัวตายหรือหมดสติ
  • ความรู้สึกกลัวจะเป็นบ้า
  • หน้าชา
  • ความวิตกกังวลทั่วไป
  • กลัวสังคม
  • ความนับถือตนเองต่ำ
  • มีความกังวลเรื่องสุขภาพ และทำร้ายตัวเอง

จะเห็นได้ว่าอาการแพนิคดังกล่าวนั้นเริ่มจากการวิตกกังวล เมื่อมันถูกกระตุ้นมันจะไปกระทบกับระบบย่อยอาหาร มีอาการหายใจเร็วขึ้น เลือดสูบฉีด ร่างกายหลั่งฮอร์โมน ทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งร่างกายกำลังแสดงให้เห็นว่ากำลังถูกคุกคาม และเมื่อจิตใจของคุณตรวจพบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็จะปลดปล่อยความกลัว จากนั้นความกลัวก็จะให้เกิดอาการต่าง ๆ ต่อไป

ปัจจัยที่กระตุ้นให้อาจเกิดอาการแพนิค

โรคแพนิคสามารถเกิดได้กับทุกคน และมีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าอาการแพนิคนั้นเกิดจากปัจจัยใดกันแน่ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิคแบ่งเป็น

1. สาเหตุทางกาย

สารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลส่งผลให้เกิดอาการแพนิค
  • พันธุกรรม หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคแพนิค คุณก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพนิคได้เช่นกัน
  • ฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลจนเกิดเป็นโรคแพนิคได้

2. สาเหตุทางจิตใจ

การทำงานกับคอมฯหรือโทรศัพท์นาน ๆ ก่อให้เกิดอาการแพนิค
  • ทำงานกับคอมฯหรือโทรศัพท์นานๆ คุณอาจพักสายตาหรือยืดเส้นยืดสายบ้างทุก ๆ 30 นาทีเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
  • เผชิญกับความกดดัน เมื่อรู้ว่าตัวเองอยู่ในภาวะกดดันควรตั้งสติให้ได้ และหายใจลึก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
  • อยู่ในสภาวะเร่งรีบ จัดลำดับความสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยลดสภาวะเร่งรีบได้และลดอาการแพนิคได้
  • มีอาการเครียดและวิตกกังวล หากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
  • ไม่ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพนิค
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ การแบ่งเวลา และการจัดตารางชีวิตให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเหมาะสมสามารถลดอาการแพนิคได้

วิธีรักษาอาการแพนิคกระทันหัน

เราสามารถรักษาโรคแพนิคได้ 2 วิธีคือการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยา

การฝึกการหายใจ สมาธิ และกล้ามเนื้อเป็นวิธ๊รักษาอาการแพนิคกระทันหัน

1. การรักษาทางจิตใจ

เป็นวิธีรักษาอาการแพนิคกระทันหันเบื้องต้นด้วยตัวเองโดยปรับความคิดและพฤติกรรม

  • ฝึกหายใจ การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ อย่างช้า ๆ จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการแพนิคกระทันหัน
  • ฝึกสมาธิ การนั่งสมาธิ 5 นาที ทุกวันนั้นช่วยลดการเกิดโรคแพนิคได้
  • ฝึกกล้ามเนื้อ การหากิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงเครียดและปวดศีรษะก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการแพนิคกระทันหันได้อย่างดี
  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง บางครั้งคุณก็ต้องตั้งสติแล้วบอกกับตัวเองว่า อาการแพนิคกระทันหันมันเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น เดี๋ยวก็หาย

2. การรักษาด้วยยา

เนื่องจากโรคแพนิคเป็นโรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง หากทำการรักษาอาการแพนิคเบื้องตันด้วยตัวเองแล้วยังไม่หาย การรับประทานยาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง

 การรักษาอาการแพนิคด้วยยาอาจใช้เวลาในการรักษานานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคแพนิคของแต่ละบุคคล ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคแพนิคนี้สามารถหายขาดเองด้

เมื่อทราบอย่างนี้แล้วเราไม่ควรละเลยโรคแพนิค หรือคิดว่าอาการแพนิคไม่อันตรายจึงปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา แต่คุณรู้ไหมว่าโรคแพนิคนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อีก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เห็นไหมคะว่าเราควรดูแลตัวเองแม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ตามค่ะ

Previous

10 ไอเดียแต่งตัววันฮาโลวีน สุดครีเอทจากเซเลปทั่วโลก

Next

3 ยาคุมยี่ห้อไหนดี 2024 พร้อมข้อดีและข้อที่ควรรู้

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. 10 ลายเล็บเจลมือขาว ขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว ทําให้มือสว่าง
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  10. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
  11. แจกไอเดียเล็บ คริสต์มาส เปลี่ยนลุคให้ดูสดใส พร้อมเฉิดฉาย
*/?>