โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

วันนี้เราอยากพาเพื่อนๆมารู้จักบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก OBP หรือ Ocean Bound Plastic กัน ซึ่งมันคือบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพวกพลาสติกที่ถูกทิ้งตามแนวชายฝั่งของทะเล โดยพลาสติกพวกนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพัดพาลงสู่ทะเลและอาจก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล การนำพลาสติกที่ถูกทิ้งไว้นี้กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการลดปริมาณขยะพลาสติกและช่วยลดความเสี่ยงของขยะพลาสติกในทะเล แค่นี้เราก็จะรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลไปได้พร้อมๆ กัน

สถานการณ์ขยะพลาสติกในมหาสมุทรของเอเชีย

ภูมิภาคเอเชียนับเป็นแหล่งกำเนิดขยะพลาสติกในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก เพราะว่ามีขนาดใหญ่และติดฝั่งทะเลเยอะ อีกทั้งหากประเทศไหนมีระบบจัดการขยะไม่ดี หรือมีพฤติกรรมการทิ้งขยะในบริเวณชายฝั่ง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง ที่ขยะพลาสติกจากชายฝั่งจะไหลลงไปสู่ทะเลและทำร้ายระบบนิเวศทางทะเลต่อไป

ตัวอย่างความเสียหายจากขยะพลาสติกในมหาสมุทร เช่น สัตว์ทะเลหลายชนิดกลืนกินเข้าไปโดยไม่รู้ ซึ่งจะนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ พลาสติกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติกเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำให้มนุษย์ได้รับสารเคมีจากพลาสติกเหล่านั้นเมื่อบริโภคสัตว์ทะเล หรือการที่ขยะพลาสติกทำลายทัศนียภาพของชายหาดท่องเที่ยว ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

รู้แบบนี้แล้ว การเอาพลาสติกที่ถูกทิ้งตามชายฝั่งเหล่านี้กลับมาใช้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ระบบนิเวศทางทะเลจะถูกทำร้ายด้วย

ขยะตามชายหาด

วิธีการและขั้นตอนการผลิตบรรจุภัณฑ์ Ocean Bound Plastic

  1. เก็บรวบรวมและคัดแยกขยะพลาสติก เช่น PET, HDPE, LDPE, PP
  2. พลาสติกที่ผ่านการคัดแยกจะถูกนำไปล้างและกำจัดสิ่งสกปรกออกอย่างหมดจด จากนั้นจะนำมาบดย่อยให้อยู่ในขนาดเล็ก
  3. เม็ดพลาสติกที่ผ่านการบดย่อยจะถูกนำไปหลอมรวมกันตามประเภทของเม็ดพลาสติก จากนั้นจะถูกขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มหรือผ่านกระบวนการอัดรีดอื่นๆ ตามลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้ Ocean Bound Plastics

ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่มีโอกาสถูกพัดลงไปในมหาสมุทร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหามลพิษทางน้ำ

เป็นการนำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ลดการพึ่งพาพลาสติกจากวัตถุดิบใหม่

ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตพลาสติกสู่ชั้นบรรยากาศ

ช่วยลดต้นทุนในการกำจัดขยะพลาสติกที่จะต้องนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย สร้างรายได้และงานให้แก่ชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมขยะพลาสติก

ที่มาของชื่อ “Ocean Bound Plastic”

คำว่า “Ocean Bound” หรือ “พลาสติกที่จะไหลลงสู่มหาสมุทร” นั้นหมายถึงพลาสติกที่ถูกทิ้งหรือปล่อยทิ้งไว้ในในระยะ 50 กิโลเมตร บริเวณชายฝั่งทะเลที่เชื่อมต่อกับทะเลและมหาสมุทร โดยพลาสติกเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพัดพาลงสู่ทะเลในที่สุด ซึ่งอาจก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างรุนแรง

ใหม่ Naturals by Watsons Algae Deep Hydration Shampoo และ Conditioner ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนผสมหลักจากสาหร่ายทะเลออร์แกนิคคุณภาพสูงที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในประเทศโปรตุเกส ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน สูตรผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงถึง 94% ช่วยเติมน้ำและเสริมสร้างความชุ่มชื้นให้แก่เส้นผมอย่างล้ำลึก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยังใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบ OBP 100% ช่วยดูแลสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล และเมื่อใช้หมดยังสามารถที่จะนำกลับมารีไซเคิลได้อีก โดยไม่มีการใช้ฝาแบบปั๊มที่มีสปริงซึ่งไม่สามารถรีไซเคิลได้ แต่เลือกใช้แบบ disc cap ที่เมื่อใช้หมดแล้วเพียงลอกฉลากออกก็สามารถนำบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิลได้อีกครั้งหนึ่ง สายเลิฟธรรมชาติที่อยากลอง เจอกันได้ที่ร้านวัตสันทุกสาขา และวัตสันออนไลน์นะ

โอเชียน พลาสติก รีไซคลิ่ง

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

ท่าง่ายๆ บอกลาอาการผู้ถูกเลือกให้ "ปวดหลัง"

Next

12 อันดับ มาสคาร่าคิ้ว ยี่ห้อไหนดี ปี 2024 คิ้วตั้งฟู ดูธรรมชาติ

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. รีวิว needly toner pad โทนเนอร์แพดผิวใสทั้ง 4 สูตร
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
  10. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
  11. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
*/?>