โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

ส่วนผสมบำรุงผิวที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวแพ้ง่าย

 

สาวๆ ที่มีผิวแพ้ง่ายคงต้องต่อสู้กับการอักเสบที่ดูจะไม่มีที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่ผิวของสาวๆ จะสามารถมีสุขภาพที่ดีและผุดผ่องได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ทราบว่าควรใช้สิ่งใดและควรต้องหลีกเลี่ยงสิ่งใดสำหรับผิวของตัวเอง ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ใช่ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง แต่เป็นส่วนผสมที่ผลิตภัณฑ์เฉพาะนั้น ๆ ใช้อยู่ต่างหาก

 


สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผิวแพ้ง่าย

 

 

บำรุงผิวแพ้ง่าย

บำรุงผิวแพ้ง่าย

 

สารสกัดจากดอกคาโมไมล์

ไบซาโบลอลที่สกัดจากดอกคาโมไมล์เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติและช่วยบรรเทาที่เป็นประโยชน์สำหรับการปลอบประโลมผิวแพ้ง่าย โดยสามารถต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียได้อย่างน่าประทับใจ!

 

 

เชียบัตเตอร์

ส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื้นที่อ่อนโยนเป็นพิเศษซึ่งสามารถทำให้ผิวนุ่มขึ้นและซ่อมแซมสภาพผิวที่เป็นขุย อุดมไปด้วยกรดไขมันที่ช่วยสร้างชั้นปกป้องผิว และวิตามินเอ & อี ที่สนับสนุนสุขภาพผิวและลดความเสียหายจากรังสียูวี

 

อโลเวร่า

ส่วนผสมที่มีชื่อเสียงในการรักษาผิวไหม้แดดช่วยปลอบประโลมผิวแพ้ง่ายได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน ด้วยคุณสมบัติต้านการอักเสบและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อโลเวร่าจึงมีประโยชน์อย่างมากในการต่อสู้กับอาการคัน การระคายเคืองและรอยแดง

 

สารสกัดจากดอกคาเลนดูล่า

ส่วนผสมทางพฤกษศาสตร์ที่ปลอบประโลมผิวและต้านการอักเสบรวมทั้งต้านเชื้อแบคทีเรียเป็นสารที่สาวผิวแพ้ง่ายต้องลองหามาใช้ดู เพราะไม่เพียงแต่จะบรรเทาการระคายเคืองเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิวและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนอีกด้วย

 

 

สารสกัดจากดอกคาโมไมล์

สารสกัดจากดอกคาโมไมล์

 

 


 

 

ส่วนผสมบำรุงผิวที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวแพ้ง่าย

ส่วนผสมบำรุงผิวที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผิวแพ้ง่าย

 

สิ่งที่ร้ายแรงสำหรับผิวแพ้ง่าย


 

น้ำหอม

น้ำหอมเป็นหนึ่งในสารก่อการระคายเคืองที่พบบ่อยที่สุดสำหรับผิวแพ้ง่าย ไม่ว่าจะทำจากธรรมชาติหรือโดยการสังเคราะห์ก็ตาม ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงน้ำหอมเมื่อสาวผิวแพ้ง่ายเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โปรดพึงระลึกว่าการทำให้จมูกของสาว ๆ มีความสุขนั้นไม่ได้หมายความว่าผิวของสาวๆ จะมีความสุขไปด้วยนะคะ!

 

สารซัลเฟต

ส่วนผสมที่ใช้กันทั่วไปโดยเป็นสารทำความสะอาดในเฟซวอช บอดี้วอชและแชมพู โดยสามารถขจัดน้ำมันตามธรรมชาติบนใบหน้าออก และทำให้ผิวแห้งกร้าน ทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ส่งผลให้สาวผิวแพ้ง่ายอาจจะต้องทุกข์ทรมานจากอาการระคายเคือง อาทิเช่น รอยแดง ผิวลอกหรือผิวไหม้

 

แอลกอฮอล์

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน แอลกอฮอล์มีทั้งชนิดที่ไม่ดีและชนิดที่ดีต่อผิว แนะนำให้หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์อย่างเช่น แอลกอฮอล์ชนิด SD เอทานอล เมทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อให้ความรู้สึกที่เย็นสบายและทำให้ผิวแห้งเร็ว แอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการทำให้ผิวแห้ง (เท่าที่สาวๆ รู้สึกได้!) และทำให้ผิวของสาว ๆ เกิดการระคายเคือง เกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติจะเสื่อมสภาพลงเมื่อทาผลิตภัณฑ์นี้

 

แอลกอฮอล์แบบไขมันที่ดี เช่น ไกลคอล เซตทิลแอลกอฮอล์ สเตรียริล แอลกอฮอล์ และซเทียริว แอลกอฮอล์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในรูปลักษณ์และคุณสมบัติ โดยเกิดจากพืชและมักจะเป็นรูปแบบของแข็งที่นำมาใช้ในการช่วยผสมผสานผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่เป็นอันตรายต่อผิว แต่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวแทน

 

อุปกรณ์ขัดผิว

ใช่ค่ะ ที่การขัดผิวช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกและช่วยให้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสามารถซึมซาบลงสู่ผิวได้ล้ำลึกมากยิ่งขึ้น แต่ว่า! เราขอแนะนำให้สาว ๆ เลือกอุปกรณ์ขัดผิวอย่างระมัดระวังเนื่องจากผิวแพ้ง่ายจะเกิดการอักเสบได้ง่าย! อุปกรณ์ขัดผิวสามารถส่งผลรุนแรงและกัดกร่อนเกินไปสำหรับผิวแพ้ง่าย สารเคมีขัดผิวจึงเป็นทางเลือกที่ดี

Previous

วิธีเลือกมาสก์หน้าให้เหมาะกับผิว

Next

[รีวิว] Melty Cream Lip ครั้งแรกกับ Sleeping Lip Balm มอบความอวบอิ่ม ให้ชุ่มชื่นยาวนานข้ามคืน

Related Topics
Share
WHAT’S HOT
  1. 10 ร้านเสื้อผ้าในไอจีราคาถูก หลักร้อย ไม่ตกเทรนด์
  2. 12 สกินแคร์จาก CICA ส่วนผสมช่วยลดสิว ผิวระคายเคือง
  3. 10 สถานที่ขอพรเรื่องความรัก ช่วยคนโสดไม่ให้นก
  4. 15 ครีมบำรุงผิวขาว และครีมทาผิวขาวยี่ห้อไหนดี 2024
  5. แต่งหน้าเป๊ะปังด้วยเมคอัพ ชิ้นที่สอง1บาท
  6. 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก
  7. โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
  8. เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
  9. 10 ลายเล็บเจลมือขาว ขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว ทําให้มือสว่าง
  10. แจกไอเดียเล็บ คริสต์มาส เปลี่ยนลุคให้ดูสดใส พร้อมเฉิดฉาย
  11. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
*/?>