สาวๆ ชาวออฟฟิศเคยสังเกตไหมว่าร่างกายของคุณกำลังส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง เพียงแต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าอาการเหล่านั้นคืออะไร และอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านั้น
ที่สำคัญสัญญาณเหล่านั้น อาจกำลังบ่งบอกถึงโรคร้ายที่กำลังจะเกิดกับร่างกายของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะสาวออฟฟิศส่วนใหญ่นั้นกำลังประสบกับโรคร้ายนี้ โดยที่บางคนอาจไม่รู้ตัว
ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง เราไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่าออฟฟิศซินโดรมคืออะไร ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารักษาออฟฟิศซินโดรมเป็นจำนวนไม่น้อย และดูเหมือนว่าจะเป็นโรคที่คนยุคใหม่เป็นกันมากพอสมควร
ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปัจจุบัน คนวัยทำงานไม่ค่อย เคลื่อนไหวเหมือนแต่ก่อน อย่างการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และก้มดูมือถือเป็นเวลานานๆ
สำหรับ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง
ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ดังนั้น เพื่อที่คุณ จะได้รักษาออฟฟิศซินโดรมได้ทัน เราไปเช็คกันดีกว่าว่าคุณมีอาการที่เข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม หรือเปล่า
อาการที่เข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม
1.ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน
เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักจะรู้สึกปวดเป็นวงกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวทั่วไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยและอาการปวดอาจมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดรุนแรงทรมานได้
2.ปวดตึงที่ขาและมีอาการเหน็บชา
เกิดจากการนั่งนานมากเกินไปทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับส่งผล ให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
3.ปวดตาและมีอาการตาแห้ง
ไม่แปลกเลยเพราะสาเหตุของอาการเหล่านี้อาจมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือมากเกินไปโดยไม่ได้พักสายตา และมักจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตามมา
4.ปวดหัว
อาจมีอาการปวดไมเกรนร่วมด้วยมักเกิดจากการปวดบริเวณบ่าหรือตาแล้วลามไปถึงหัวได้เพราะเลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้สะดวก
5.ปวดข้อมือ นิ้วล็อค
อาจมีอาการมือชาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นจับเมาส์ในตำแหน่งเดิมนานๆ หรือการออกแรงที่นิ้วมือมากๆ และบ่อยครั้งทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ
หลังจากเช็คอาการต่างๆ แล้วเป็นอย่างไรบ้างคะสาวๆ ตรงไปกี่ข้อเอ่ย? แต่อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ เพราะในบทความนี้ไม่เพียงแต่จะพาคุณมาเช็คอาการแล้วยังมีท่าเคลื่อนไหวเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมที่ทำได้ง่ายๆ แม้นั่งอยู่ในออฟฟิศ อ่านแล้วก็อย่าลืมทำตามไปด้วยนะคะ
ท่าเคลื่อนไหวสำหรับการรักษาออฟฟิศซินโดรม
1.ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง
นำมือประสานกัน จากนั้นเหยียดไปข้างหน้าจนสุดแล้วค้างไว้ 10-20 วินาที ทำซ้ำ 2 ครั้ง ท่านี้เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานในรักษาออฟฟิศซินโดรม
2.ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขน
ท่ารักษาออฟฟิศซินโดรมนี้คล้ายกับท่าแรก นำมือประสานกัน จากนั้นยกขึ้นเหนือหัว เหยียดขึ้นไปจนสุดและค้างไว้ 10-20 วินาที ทำซ้ำ 2 ครั้ง
3.ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนและเอว
ให้ชูมือข้างขวาขึ้นเหนือศีรษะโดยให้แขนแนบกับใบหู จากนั้นเอนตัวไปทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณเอว ค้างไว้ 10-20 วินาที เสร็จแล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 2 ครั้ง
4.ท่าคลายกล้ามเนื้อคอ ไหล่
สำหรับท่ารักษาออฟฟิศซินโดรมนี้ ให้นำมือทั้งสองข้างไขว้หลังแล้วจับข้อมือไว้ จากนั้นก้มหน้าลงและเอียงคอไปด้านขวา พร้อมกับดึงมือซ้ายไปทางขวา ทำค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นให้สลับข้าง ทำข้างละ 2 ครั้ง
5.ท่าบริหารข้อมือ
ให้เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้าใช้มือซ้ายจับฝ่ามือขวาแล้วดันข้อมือขวาเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง บริเวณด้านในของข้อศอกขวา ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วจึงสลับข้าง ทำข้างละ 2 ครั้ง ท่านี้เป็นอีกท่าพื้นฐานในรักษาออฟฟิศซินโดรม
นอกจากท่าเคลื่อนไหวเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมแล้ว สภาพแวดล้อมในการทำงานยังมีส่วนสำคัญในการแก้ออฟฟิศซินโดรม เช่น การปรับระดับความสูงของโต๊ะ และเก้าอี้ที่ทำงานให้เหมาะสม พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที การเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกๆ 1 ชั่วโมง และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
มายืดเส้นยืดสายลดอาการปวดกันค่ะ
👥 เกาะติดโปรโมชั่น พร้อมอัพเดท Lifestyle ที่ Facebook https://www.facebook.com/watsonsthailand
📱 แอปพลิเคชั่น โหลดฟรี! https://watsonsonline.store/apphomepage
💚 แอดไลน์วันนี้ ไม่พลาดทุกโปรโมชั่น! LINE Official Account https://line.me/R/ti/p/@watsonsth?from=page
🌈อัพเดททุกเทรนด์ก่อนใคร ที่ Twitter https://twitter.com/WatsonsThailand
📷 ติดตามเคล็ดลับสุขภาพและความงามที่ Instagram https://www.instagram.com/watsonsth/
💟ส่องเทรนด์มาแรงไปกับเรา https://www.tiktok.com/@watsonsth?lang=th-TH
คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ
- โทนเนอร์คืออะไร จำเป็นไหม และใช้ตอนไหนดี
- 10 ลายเล็บเจลขับผิว ช่วยให้นิ้วขาว มือดูสวยผ่อง
- โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
- เหตุผลที่คุณควรเลือกมาส์กชีทที่พัฒนาสูตรโดยแพทย์ผิวหนังเกาหลี
- 20 ไอเดียทรงผมคนหน้ากลมอ้วนช่วยพรางหน้าให้เรียวเล็ก