คุณรู้หรือไม่ว่ายิ่งคุณทำ CPR เร็วเท่าไร โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยสามารถป้องกันได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้นช่วยป้องกันการบาดเจ็บสาหัส มีทั้งวิธีห้ามเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมากเกินไป และแม้กระทั่งเสียชีวิต
การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นหลักสูตรช่วยชีวิตที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ วัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การรักษาคน แต่เพื่อดูแลผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุทันที วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือวิธีห้ามเลือดนั้นช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงในขณะที่ผู้ได้รับบาดเจ็บกำลังรอการรักษาพยาบาล
วันนี้เราได้นำวิธีการปฐมพยาบาลและวิธีห้ามเลือดมาฝากผู้อ่านในกรณีที่ท่านต้องประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ก่อนอื่นนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันก่อนว่านอกจากวิธีห้ามเลือดแล้วมีอะไรบ้าง
- รักษาชีวิต
- ป้องกันการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
- ช่วยให้ฟื้นตัวไวขึ้น
- ลดอาการเจ็บปวด
- ป้องกันการหมดสติ
5 วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบบเบสิค รู้ไว้มีแต่ได้กับได้
1. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต (CPR)

- หากพบเห็นคนได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ ให้ตบที่ไหล่ของผู้ประสบภัยพร้อมพูดคุยกับเขา หากไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้เรียกรถพยาบาล และตรวจสอบว่ายังหายหรือไม่ใจโดยสังเกตการเคลื่อนไหวบริเวณหน้าอกและท้อง
- หากการหายใจไม่ปกติให้กดหน้าอก 30 ครั้ง
- เมื่อกดหน้าอกเสร็จแล้วให้ดันคางขึ้นพร้อมกับกดหน้าผากให้แหงนหน้าขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งแล้วจึงผายปอด 2 ครั้ง
- หลังจากนั้นใหกดหน้าอก 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง โดยทำซ้ำไปมา
- หากกลัวว่าจะติดโรคให้กดหน้าอกอย่างเดียวไม่ต้องผายปอด
2. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีแผลไฟลวก

- แช่บริเวณที่ถูกไฟลวกในน้ำมากกว่า 15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิลดลง
- ไม่พยายามถอดชุดออก หรือเสื้อผ้าที่ในบริเวณที่โดนไฟลวกออก
- ให้ราดน้ำเบา ๆ จากบนชุด
- ระมัดระวังอย่าแกะแผลพุพองให้แตก เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
3. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีบาดแผล

- หากมีเลือดออกไม่มากให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด
- ใช้วิธีห้ามเลือดโดยพันแผลด้วยผ้าก๊อซ
4. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีเลือดออก

- หากมีเลือดออกมากให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดปากแผลให้แน่น
- หากกดแผลแล้วเลือดยังไม่หยุดไหล ให้ใช้วิธีห้ามเลือดโดยกดบริเวณจุดห้ามเลือดที่ใกล้กับหัวใจ
5. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกระดูกหัก

- ถอดรองเท้าและตัดเสื้อผ้าออก เพราะอาจมีอาการบวมขึ้นหลังจากกระดูกหัก
- ใช้หนังสือ กระดาษแข็ง หรือแผ่นไม้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้แทนการใส่เฝือก
- ให้ผู้ป่วยนอนราบ ไม่พยายามเคลื่อนย้ายจนกว่าหน่วยช่วยเหลือจะมา
นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 อย่างที่เรานำมาฝากแล้วนั้น ยังมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งหากว่าคุณสนใจ คุณก็สามารถศึกษาหรือลงเรียนได้ตามคอร์สเรียน
อย่างวิธีห้ามเลือดก็เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอื่น ๆ ซึ่งเราคิดว่าทุกคนควรเรียนรู้ไว้ในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันกับตัวคุณเองและคนรอบข้าง
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ
6 วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ ตัวร้ายทำลายสุขภาพด้วยตัวเอง
7 ประโยชน์ของกาแฟดำ ที่คอกาแฟสายสุขภาพควรรู้
5 วิธีลดน้ำตาลด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ แถมได้สุขภาพ
รวม 8 สรรพคุณของน้ำผึ้ง เคล็ดลับความงามและสุขภาพดี